วันจันทร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Starbucks


The first Starbucks was opened in Seattle, Washington, on March 30, 1971 by three partners: English teacher Jerry Baldwin, history teacher Zev Siegl, and writer Gordon Bowker. The three were inspired by entrepreneur Alfred Peet (whom they knew personally) to sell high-quality coffee beans and equipment. The name is taken from Moby-Dick; after Pequod was rejected by one of the co-founders, the company was named for the first mate on the Pequod, Starbuck.

From 1971–1975, the first Starbucks was at 2000 Western Avenue; it then was relocated to 1912 Pike Place, where it remains to this day. During their first year of operation, they purchased green coffee beans from Peet's, then began buying directly from growers.
Entrepreneur Howard Schultz joined the company in 1982 as Director of Retail Operations and Marketing, and after a trip to Milan, Italy, advised that the company should sell coffee and espresso drinks as well as beans. Even though Seattle had become home to a thriving countercultural coffeehouse scene since the opening of the Last Exit on Brooklyn in 1967, the owners rejected this idea, believing that getting into the beverage business would distract the company from its primary focus. To them, coffee was something to be prepared in the home, but they did give away free samples of pre-made drinks. Certain that there was money to be made selling pre-made drinks, Schultz started the Il Giornale coffee bar chain in April 1986.
Sale and expansionIn 1984, the original owners of Starbucks, led by Baldwin, took the opportunity to purchase Peet's (Baldwin still works there). In 1987, they sold the Starbucks chain to Schultz's Il Giornale, which rebranded the Il Giornale outlets as Starbucks and quickly began to expand. Starbucks opened its first locations outside Seattle at Waterfront Station in Vancouver, British Columbia, and Chicago, Illinois, that same year. At the time of its initial public offering on the stock market in 1992, Starbucks had grown to 165 outlets.

วันพุธที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2553


ไดอานา เจ้าหญิงแห่งเวลส์ (อังกฤษ: Diana, Princess of Wales) หรือพระนามเต็มคือ ไดอานา ฟรานเซส สกุลเดิม สเปนเซอร์ (Diana Frances, née The Lady Diana Spencer) (ประสูติ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2504 ที่เมืองแซนดริงแฮม ประเทศอังกฤษ — สิ้นพระชนม์ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2540 ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส) เป็นพระชายาพระองค์แรกของเจ้าฟ้าชายชาลส์ แห่งเวลส์ จากการอภิเษกสมรสเมื่อปี พ.ศ. 2524 และได้ทรงหย่าขาดเมื่อปี พ.ศ. 2539 พระองค์ทรงดำรงพระอิสริยยศเจ้าหญิงแห่งเวลส์ เป็นพระองค์ที่ 9 ของอังกฤษ สื่อมวลชนและประชาชนทั่วไปนิยมขนานพระนามว่า "เจ้าหญิงไดอานา" ซึ่งตามความเป็นจริงแล้วพระนามนี้ถือว่าผิดในทางทฤษฎี
นับตั้งแต่ทรงหมั้นกับเจ้าชายแห่งเวลส์ในปี พ.ศ. 2524 จนกระทั่งการสิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุรถยนต์ ในปี พ.ศ. 2540 ไดอานาเป็นผู้หญิงสำคัญคนหนึ่งของโลก ไม่ว่าจะความสนพระทัย การฉลองพระองค์ รวมถึงพระกรณียกิจของพระองค์ได้รับความสนใจจากทั่วทุกมุมโลก พระองค์ทรงเป็นผู้นำแฟชั่น เป็นสัญลักษณ์แห่งความงาม ความหวังของผู้ป่วยโรคเอดส์ และทูตสันถวไมตรีที่เชื่อมทุกความขัดแย้ง แต่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดคือพระองค์ทรงเป็นพระราชินีในดวงใจของประชาชนอีกด้วย ตลอดทั้งพระชนม์ชีพพระองค์เป็นผู้ที่ถูกถ่ายรูปมากที่สุดคนหนึ่งในโลกราวกับนักแสดงที่มีชื่อเสียง

เหตุการณ์ก่อนสิ้นชีวิต
อุบัติเหตุ
รถพระที่นั่งภายหลังจากเกิดอุบัติเหตุเมื่อวันเสาร์ที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2540 เวลา 15.37 น. มีผู้พบเห็นไดอานาลงจากเครื่องบินที่มีต้นทางจากหมู่เกาะซาร์ดิเนียทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ที่สนามบินเลอร์ บู เจ๊ตในกรุงปารีส ในเวลาประมาณ 15.40น. เจ้าหญิงได้ขึ้นรถ เมอร์เซเดส-เบนซ์ เอส 280 สีดำ รุ่นปี 1997 ออกจากสนามบินอย่างรวดเร็ว พร้อมกับทรงนัดพบกับ โดดี อัลฟาเยด์ ที่อพาร์ตเมนต์กลางกรุงปารีส หลังจากนั้น เวลาประมาณ 17.45 น. มีผู้พบเห็นไดอานากับนายโดดี พร้อมองครักษ์ อีกครั้งขณะช็อปปี้งในย่านถนน "ชองเซลีเซ่" ขณะนั้นช่างภาพอิสระรุมถ่ายภาพระองค์กับนายโดดี โดยเวลา 18.40 น. เจ้าหญิงจึงเสด็จกลับ มีการดักฟังทางโทรศัพท์ว่า เจ้าหญิงจะทรงพบกับนายโดดีอีก ที่โรงแรมริทซ์เพื่อเลี้ยงพระกระยาหารค่ำในเวลา 21.31 น. และเจ้าหญิงได้เสด็จถึงโรงแรมเมื่อเวลา 21.31 โดยในระหว่างเวลา 21.40-23.30 น. เจ้าหญิงได้อยู่ในภัตตาคารอันหรูหราของนายโดดี แต่มีรายงานการใช้โทรศัพท์ของเจ้าหญิงว่าได้โทรศัพท์ไปถึงโหรหญิงและเจ้าของร้านอาหารอิตาเลียนในกรุงลอนดอน พระสหายสนิทพระองค์ เพื่อทำนายดวงชะตาและขอคำปรึกษาปัญหาชีวิตภายในอีก 2-3 อาทิตย์ข้างหน้า

ก่อนเที่ยงคืนเล็กน้อย เจ้าหญิงไดอาน่าได้เสด็จออกจากโรงแรมริตซ์พร้อมกับนายโดดี อัลฟาเยด ช่างภาพอิสระชุดเก่าที่จึงสะกดรอยตามพระองค์อีกครั้ง จนมาถึงถนนลอดอุโมงค์ที่ชื่อว่า ปองต์ เดอ อัลมา ใต้แม่น้ำเซน แต่รถยนต์ซึ่งวิ่งมาด้วยความเร็วประมาณ 126 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อหลบหนีการตามล่าของเหล่าช่างภาพอิสระ ก็ได้พุ่งชนกับแผงราวเหล็กกั้นอุโมงค์อย่างจัง เนื่องจากถนนลอดอุโมงค์มีความลาดชันมาก ทำให้รถยนตหมุนตัวและพุ่งชนแผงเหล็กอีกด้านหนึ่ง ส่งผลให้หม้อน้ำเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง โดยอองรี ปอล คนขับรถและนายโดดี เสียชีวิตทันที ส่วนเจ้าหญิงและนายเทรเวอร์ เรสยอนส์ องครักษ์ได้รับบาดเจ็บสาหัส เจ้าหญิงมีบาดแผลฉกรรจ์ที่พระพักตร์(ใบหน้า)และพระเศียร(ศีรษะ) มีพระโลหิต(เลือด)ไหลออกมากและยังมีพระโลหิตตกค้างในพระปัปผาสะ(ปอด) เมื่อเวลา 00.15 น. รถพยาบาลคันแรกของโรงพยาบาลเซ็นต์เดอลาปีแอร์มารับเจ้าหญิงและองครักษ์ หลังจากนั้นอีกชั่วโมงกว่า แต่เจ้าหญิงนั้นทรงเสียพระโลหิตมาก และยังมีพระโลหิตตกค้างในพระปัปผาสะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากด้วย โดยพระองค์มีพระอาการทรงตัวต่อมาเรื่อยๆ จนเมื่อเวลา 03.35 น. พระหทัยของไดอาน่าอ่อนแรงลงเรื่อยๆ จนหยุดเต้น

สิ้นพระชนม์
หลังจากนั้นอีกประมาณครึ่งชั่วโมง เวลา 04.00 น. ดร.บรูโน ริโอ แพทย์ผู้ทำการรักษาเจ้าหญิงไดอานา ประกาศว่า ไดอาน่า อดีตเจ้าหญิงแห่งเวลส์ สิ้นพระชนม์ด้วยพระอาการพระโลหิตตกค้างในพระปัปผาสะในและสูญเสียพระโลหิตมาก ส่วนนายเทรเวอร์ เรสยอนส์ องครักษ์นั้นเป็นคนเดียวในอุบัติเหตุที่รอดชีวิต สำนักพระราชวังบัคกิงแฮมได้ออกแถลงการณ์ยืนยันในวันรุ่งขึ้น และแจ้งว่าเจ้าฟ้าชายชาร์ลส์ เจ้าชายวิลเลียม และ เจ้าชายแฮร์รี แห่งเวลส์ ทรงทราบข่าวแล้ว สมเด็จพระราชินีนาถ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดงานพระศพได้ที่ มหาวิหารเวสมินเตอร์ โดยพระราชวงศ์อังกฤษทุกพระองค์เสด็จฯ เข้าร่วมพิธีพระศพ เจ้าชายวิลเลียมและเจ้าชายแฮร์รี่ซึ่งยังคงทรงโศกเศร้ามากนั้น มีคุณปีเตอร์ ฟิลิปส์ (พระโอรสในเจ้าฟ้าหญิงแอนน์) จับมือและคอยให้กำลังใจตลอดเวลา แขกสำคัญนอกจากพระราชวงศ์ทุกพระองค์แล้วยังมีครอบครัวสเปนเซอร์ทุกคน และมีผู้ร่วมไว้อาลัยประมาณ 3,500 คน

ถวายการไว้อาลัยแด่เจ้าหญิงแห่งเวลส์
ผู้คนทั่วทั้งโลกล้วนตกตะลึงและโศกเศร้ากับข่าวการสิ้นพระชนม์ของไดอาน่า ดอกไม้หลายล้านดอกและจดหมายนับล้านๆ ฉบับถูกส่งถึงหน้าพระราชวังเพื่อไว้อาลัยถวายแด่เจ้าหญิงแห่งเวลส์ โดยมีบุคคลสำคัญที่ได้แสดงความไว้อาลัยแก่ไดอานา เช่น สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 เลดี้ซาราห์ แม็กคอเดลและ เลดี้เจน เฟเลอว์ พระเชษฐภคินีของเจ้าหญิง ชาร์ลส์ เอิร์ล สเปนเซอร์ พระอนุชา และเซอร์เอลตัน จอห์น ได้ร้องเพลง Candle in the wind เพื่อบรรเลงถวายอาลัยแก่ไดอาน่า เจ้าหญิงแห่งเวลส์ในงานพระศพ

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

Mariah Carey


มารายห์ แครี (อังกฤษ: Mariah Carey) เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1970 เป็นนักร้องชาวอเมริกัน นักแต่งเพลง โปรดิวเซอร์เพลง และนักแสดง เธอมีผลงานเปิดตัวครั้งแรกในปี ค.ศ. 1990 ภายใต้การชักนำของผู้บริหารค่ายเพลงโคลัมเบียเรเคิดส์ ทอมมี มอตโตลา และได้กลายเป็นศิลปินคนแรกที่มี 5 ซิงเกิ้ลแรกติดชาร์ตอันดับ 1 บนบิลบอร์ดฮอต 100 หลังจากนั้นเธอได้แต่งงานกับมอตโตลาในปี ค.ศ. 1993 มีผลงานเพลงฮิตมากมายและยังทำให้เธอเป็นศิลปินที่มียอดขายสูงสุดของค่ายโคลัมเบีย และจากข้อมูลของนิตยสารบิลบอร์ด เธอเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จที่สุดในคริสต์ทศวรรษ 1990 ในสหรัฐอเมริกา
หลังจากที่เธอเลิกรากับมอตโตลาในปี ค.ศ. 1997 แครีได้เริ่มทำเพลงฮิปฮอปในผลงานอัลบั้มของเธอ ที่ในเบื้องต้นแล้วประสบความสำเร็จดี แต่ความนิยมของเธอก็ลดลงหลังจากเธอออกจากโคลัมเบียในปี ค.ศ. 2001 เธอเซ็นสัญญากับเวอร์จินเรเคิดส์แต่ล้มเหลวจากค่ายเพลงที่ซื้อสัญญาคืนในปีถัดมาหลังจากที่เธอสติแตกต่อสาธารณะชน เช่นเดียวกับเสียงตอบรับด้านลบจากภาพยนตร์ Glitter และผลงานอัลบั้มประกอบภาพยนตร์ ต่อมาในปี ค.ศ. 2002 แครีเซ็นสัญญากับค่ายไอแลนด์เรเคิดส์ และหลังจากไม่ค่อยที่จะประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เธอก็กลับมาขึ้นอันดับต้น ๆ ของเพลงป็อปในปี 2005
แครีมียอดขายอัลบั้ม ซิงเกิ้ลและวิดีโอมากกว่า 175 ล้านชุด ทั่วโลก เธอยังมีชื่อว่าเป็นศิลปินป็อปหญิงที่มียอดขายมากที่สุดในสหัสวรรษจากงานเวิลด์มิวสิกอวอร์ดส 2002 และจากข้อมูลของสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา เธอเป็นศิลปินหญิงที่มียอดขายมากที่สุดเป็นอันดับ 3 และเป็นอันดับ 17 ของศิลปินทั้งหมดด้วยยอดขายอัลบั้มมากกว่า 62.5 ล้านชุด เฉพาะในสหรัฐอเมริกา เธอยังติดอันดับศิลปินที่มียอดขายมากที่สุดในยุคการสำรวจยอดขายโดยนีลสันซาวด์สแกนของสหรัฐอเมริกา (เป็นที่ 3 ของศิลปินทั้งหมด) เธอยังเป็นศิลปินเดี่ยวที่มีซิงเกิ้ลอันดับ 1 มากที่สุดในสหรัฐอเมริกา (18 ซิงเกิ้ล เป็นที่สองรองจากวงเดอะบีตเทิลส์) นอกจากนั้นเธอยังได้รับรางวัลแกรมมี่ 5 ครั้ง และเธอยังเป็นที่รู้จักในความสามารถการร้องเพลงที่มีช่วงกว้าง ทรงพลัง การร้องเทคนิคที่เรียกว่า "เมลิสม่า" และการใช้ whistle register
ประวัติ
ชีวิตในวัยเด็กและครอบครัว ปี 1970 ถึง 1990
มารายห์ แครี เกิดเมื่อวันที่ 27 มีนาคม ค.ศ. 1970 ที่ เมืองฮันติงตัน มลรัฐนิวยอร์ก เป็นบุตรคนที่สามและคนสุดท้องของนักร้องโอเปราและนักฝึกสอนการขับร้องชาวไอริชอเมริกัน ชื่อ แพทรีเชีย ฮิกกี้ กับ วิศวกรอากาศยานชาวเวเนซูเอล่า-แอฟริกัน ชื่อ อัลเฟรด รอย แครี แครีมีพี่สาวชื่อ แอลิสัน อายุมากกว่าเธอสิบปี และพี่ชายชื่อ มอร์แกน อายุมากกว่าเธอเก้าปี ชื่อของแครีนั้นไม่มีชื่อกลาง ส่วนชื่อ "มารายห์" มีที่มามาจากเพลง "(And They Call the Wind) Mariah" ในละครบรอดเวย์เรื่อง "Paint Your Wagon"
จากการที่แครีมีผู้ปกครองมาจากชาติพันธุ์ที่ต่างกัน ครอบครัวของเธอจึงประสบกับปัญหาทางด้านการแบ่งแยกเชื้อชาติเสมอ ตั้งแต่การโดนดูถูก เมินเฉย หรือแม้กระทั่งถูกกระทำด้วยความรุนแรง เป็นผลให้ครอบครัวของแครีต้องย้ายที่อยู่ไปรอบ ๆ กรุงนิวยอร์กบ่อย ๆ เพื่อหาที่อาศัยในสภาพแวดล้อมที่ดีกว่า ความตึงเครียดภายในครอบครัวได้ทำให้บิดามารดาของเธอหย่าร้างกันในที่สุด ซึ่งขณะนั้น แครีมีอายุได้สามขวบเท่านั้น แครีและมอร์แกนอาศัยอยู่กับมารดาในขณะที่แอลิสันไปอาศัยอยู่กับผู้เป็นบิดา แครีไม่ค่อยได้ติดต่อกับบิดาของเธอเท่าใดนักยกเว้นช่วงวันหยุด แต่ก็น้อยลงเมื่อเธอมีอายุมากขึ้น แพทริเชียเลี้ยงดูแครีขณะที่เธอต้องทำงานสองถึงสามงานและก็ยังคงต้องย้ายที่อยู่อาศัยอยู่บ่อย ๆ ในเขตลองไอแลนด์
มารายห์ แครี เริ่มร้องเพลงเมื่ออายุได้สามขวบ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แม่ของเธอเชื่อว่าเธอมีพรสวรรค์ในด้านการร้องเพลง จริง ๆ แล้วแพทริเชียชอบพาแครีไปดูการซ้อมโอเปราอยู่บ่อย ๆ แครีเริ่มแสดงต่อหน้าสาธารณชนครั้งแรกเมื่อเธออายุหกขวบและเริ่มประพันธ์เพลงครั้งแรกตอนกำลังศึกษาในชั้นประถม แครีเรียนจบจากโรงเรียนประถมโอลด์ฟิลด์และโรงเรียนมัธยมฮาร์เบอร์ฟิลด์สใน กรีนลอว์น นิวยอร์ก แต่มักจะขาดเรียนอยู่บ่อย ๆ เนื่องจากเธอพยายามจะเข้าสู่วงการบันเทิง ทำให้เธอได้ฉายาว่า "มิราจ" (ภาพลวงตา) จากเพื่อน ๆ และเป็นเรื่องแปลกที่แครีไม่เคยเข้าร่วมวงร้องเพลงประสานเสียงของโรงเรียนเลย
ต่อมา เธอได้รับงานเป็นนักร้องเสียงประสานให้กับ เบรนด้า เค. สตารร์ และในปี ค.ศ. 1988 ในช่วงนั้น แครีได้พบกับผู้บริหารระดับสูงจากค่ายเพลง "โคลัมเบีย" ชื่อ ทอมมี่ มอตโตล่า ในงานเลี้ยงแห่งหนึ่งซึ่งเพื่อนของเธอได้นำม้วนเทปตัวอย่างที่อัดเสียงของแครีตอนร้องเพลงเอาไว้ให้กับเขา เทปม้วนนั้นถูกเปิดในงานเลี้ยงและทอมมี่ก็ประทับใจกับสิ่งที่ได้ฟังเป็นอย่างมาก เขาจึงกลับไปที่งานเลี้ยงเพื่อตามหาแครี แต่เธอก็กลับไปแล้ว แต่ในที่สุดเขาก็สามารถตามหาแครีจนพบและเซ็นสัญญาให้เข้ามาอยู่ในสังกัด เหตุการณ์ที่เหมือนกับเทพนิยายเรื่องซินเดอเรลล่าเรื่องนี้ได้กลายเป็นเรื่องเล่าในวงการบันเทิงเกี่ยวกับการปรากฏตัวของแครีสู่สายตาของสาธารณชน
ความสำเร็จไปทั่วโลก ปี 1993 ถึง 1996
มารายห์กับวงบอยซ์ ทู เม็น ในเพลง One Sweet Day
ตัวอย่างเพลง "One Sweet Day" (ข้อมูล)มารายห์ แครี แต่งงานกับ ทอมมี่ มอตโตล่า ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัทโซนี่ในขณะนั้น ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 1993 ที่แมนฮัตตัน สหรัฐอเมริกา ต่อมาแครีออกผลงานสตูดิโออัลบั้มชุดที่ 3 ที่ชื่อว่า Music Box อัลบั้มชุดนี้มียอดขายรวมมากกว่า 10 ล้านชุด โดยที่เปิดตัวด้วยซิงเกิ้ล "Dreamlover" ที่ติดอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกานาน 8 สัปดาห์ และซิงเกิ้ลถัดมา เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการให้กำลังที่ชื่อ "Hero" ก็ติดอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกา นาน 4 สัปดาห์ นิตยสารบิลบอร์ดกล่าวไว้ว่า "ช่างปวดใจเหลือเกิน ...เป็นการใช้สิ่งพื้นฐาน ง่ายๆ ของแครี เสียงของเธอช่างเป็นธรรมชาติกับเพลง" แต่ทาง นิตยสารไทม์ กล่าวทำนองว่า "อัลบั้ม Music Box นี้ ดูทำเป็นพอพิธี และขาดความน่าหลงใหล ... แครีสามารถเป็นนักร้องเพลงป็อป-โซล ที่ดีได้ แทนการพยายามทำให้เหมือนความสามัญอย่างซาลิเอรี" แครีได้ออกมาให้ความเห็นว่า "ทันทีที่คุณประสบความสำเร็จ ก็จะมีหลายๆ คนไม่ชอบอย่างนั้น ฉันทำอะไรไม่ได้จริงๆ สิ่งที่ฉันพอทำได้คือทำดนตรีในสิ่งที่ฉันเชื่อมั่น" คำวิจารณ์ส่วนใหญ่จะเกิดก่อนการทัวร์ Music Box Tour ในอเมริกาเล็กน้อย ส่วนซิงเกิ้ลที่ 3 เพลง "Without You" ซึ่งเป็นเพลงดังของแฮรี นิลล์สัน ที่เธอนำมาขับร้องใหม่ ก็เป็นเพลงแรกที่ไปติดอันดับ 1 ในสหราชอาณาจักรได้เป็นเพลงแรก
ช่วงปี ค.ศ. 1994 แครีได้ร่วมงานกับ ลูเธอร์ แวนดรอส ในอัลบั้ม Songs โดยได้นำเพลง "Endless Love" เพลงเก่าของไลโอเนล ริชชี และ ไดอาน่า รอสส์ กลับมาร้องใหม่ ปลายปีเดียวกันนั้น แครียังได้ออกอัลบั้มคริสต์มาสอีก 1 ชุด โดยที่เธอได้มีส่วนร่วมในการประพันธ์เพลง "All I Want For Christmas Is You" ที่อยู่ในอัลบั้มชุดนี้ด้วย ซิงเกิ้ลนี้มียอดขายเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นถึง 1.1 ล้านชุดด้วยกัน และยังคงเป็นซิงเกิ้ลที่ขายดีที่สุดของเธอในญี่ปุ่นอีกด้วย เว็บไซต์ All Music Guide วิจารณ์ไว้ว่า "ทำให้ดูเหมือนอุปรากรชั้นสูงในเพลง 'O Holy Night' และทำเพลงแด๊นซ์คลับที่ดูน่ากลัวในเพลง 'Joy to the World'" อัลบั้มชุดนี้ก็ถือเป็นอัลบั้มเพลงคริสต์มาสที่ประสบความสำเร็จที่สุดตลอดกาล
ในปี ค.ศ. 1995 แครีได้ออกผลงานอัลบั้ม Daydream ซึ่งอัลบั้มชุดนี้เธอผสมผสานดนตรีแนวอาร์แอนด์บี ฮิปฮอป และป็อปเข้าด้วยกัน โดยอัลบั้มนี้มีเพลง "Fantasy" เป็นซิงเกิ้ลแรก ทำงานร่วมกับ โอล' เดอร์ตี บาสตาร์ด ศิลปินฮิปฮอป แครีพูดว่าทางค่ายโคลัมเบีย ต้นสังกัด ไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงในชุดนี้ "ทุกๆ คนพูดเหมือนว่า 'คุณบ้าไปแล้วเหรอ' พวกเขารู้สึกกังวลมากในการเปลี่ยนแปลงสูตรเก่า ๆ" เพลงนี้ก็สามารถขึ้นอันดับ 1 ในสหรัฐอเมริกาทันทีในสัปดาห์แรกที่เข้าตารางอันดับเพลง ซึ่งนับเป็นศิลปินหญิงคนแรกที่ทำสถิติได้เช่นนี้ และเพลงนี้ยังเป็นเพลงที่ขึ้นอันดับ 1 ในสัปดาห์แรกเป็นเพลงที่ 2 ถัดจากเพลง "You Are Not Alone" ของ ไมเคิล แจ็กสัน อีกด้วย ส่วนซิงเกิ้ลที่ 2 เพลง "One Sweet Day" ที่ร่วมร้องกับวงแนวดนตรีอาร์แอนด์บีที่ชื่อ บอยซ์ ทู เม็น ก็ขึ้นอันดับ 1 นานที่สุดในประวัติศาสตร์บนตารางอันดับเพลงซิงเกิ้ลในสหรัฐอเมริกา นานถึง 16 สัปดาห์ และซิงเกิ้ลที่ 3 "Always Be My Baby" ที่ร่วมงานกับเจอร์เมน ดูปริ สามารถขึ้นอันดับ 1 เช่นกัน รวมถึง มียอดการเปิดออกอากาศมากที่สุดประจำปี ค.ศ. 1996 ด้วย
นิตยสารบิลบอร์ด พูดว่า อัลบั้ม Daydream ได้สร้างเสียงตอบรับที่ดีที่สุดแล้ว สำหรับอาชีพนักร้อง และนิวยอร์กไทม์ยังให้เป็นอัลบั้มที่ดีที่สุดในปี 1995 และยังเขียนไว้ว่า " การตัดความเป็นป็อปลูกกวาดออกสู่ ความละเอียดปราณีต ... การเขียนเพลงของเธอได้ก้าวกระโดด ผลคือดูสบายขึ้น เซ็กซี่ขึ้น และดูลดความน่าเบื่อคุ้นหูออก
นอกจากผลงานของเธอแล้ว ในช่วงปีนี้ แครียังได้ไปร่วมประสานเสียงให้กับเพลง "Everytime I close My Eyes" ของเบบี้เฟส อีกด้วย

Marilyn Monroe


มาริลิน มอนโร (Marilyn Monroe) ชื่อเดิม นอร์ม่า จีน เบเกอร์ (1 มิถุนายน พ.ศ. 2469 - 5 สิงหาคม พ.ศ. 2505) เป็นอดีตนักแสดง นักร้อง นางแบบชื่อดัง ชาวอเมริกัน
ประวัติ
มาริลิน มอนโร คำว่ามาริลีนมาจากชื่อของดาราละครเพลงยุค 20 คือ มาริลีน มิลเลอร์ ส่วนมอนโร มาจากนามสกุลเดิมของคุณยายของเธอ จีน นอร์แมน คือชื่อที่ มาริลีน ใช้ขณะเป็นนางแบบ
มาริลิน มีมารดาเป็นโรคทางประสาท บิดาสาบสูญ เป็นเหตุให้ชีวิตช่วงวัยเด็กต้องอาศัยอยู่ตามสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า เมื่อตอนอายุ 12 ปีเธอค้นพบว่าต้วเองมีแรงดึงดูดทางเพศอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรก เมื่อครั้งที่เธอสวมสเวตเตอร์พร้อมกับทาลิปสติกเป็นครั้งแรกไปโรงเรียน เธอเล่าว่าเมื่อเธอเดินเข้าไปในโรงเรียน นักเรียนชายต่างก็มองเธอเป็นตาเดียว บางคนก็ผิวปาก และบางคนก็เข้ามาหาเธอก็มี ในขณะที่นักเรียนหญิงต่างก็มองเธอด้วยความสนใจ และอิจฉาเธอ
เมื่ออายุ 16 ปี จึงเริ่มอาชีพนางแบบ ต่อมาก็เริ่มแสดงภาพยนตร์ซึ่งล้มลุกคลุกคลานมาเรื่อย ภาพยนตร์เรื่อง Gentleman Prefer Blondes (1953) เธอได้ค่าตัวอาทิตย์ละ 500 เหรียญ ในขณะที่ เจน รัสเซล ดารานำอีกคนได้ 200,000 เหรียญสำหรับภาพยนตร์ 1 เรื่อง แต่ตัวหนังทำเงินถล่มถลายและมาริลีนกลายเป็นดาราดังไปในทันที ในฉากที่เธอร้องเพลง Diamonds Are A Girls's Bestfriend ที่ถูกมาดอนน่าเลียนแบบในมิวสิกวิดีโอ Material Girl ก็นำมาจาก
ภาพยนตร์เรื่อง The Seven Year Itch (1955) มีฉากที่เป็นอมตะของเธอที่ถูกลมพัดจนกระโปรงขึ้นมา จากฉากนี้เป็นเรื่องราวทำให้เธอหย่ากับสามี (โจ ดิแมกจิโอ นักเบสบอลชื่อดัง)
ผลงานเพลง
นอกจากบทบาทการแสดงแล้วในภาพยนตร์แทบทุกเรื่องมักจะมีฉากที่ มาริลีน ร้องเพลงอยู่ด้วยเสมอ และเธอมักจะถูกพูดถึงเสมอในฉากร้องเพลง มาริลีนเคยให้สัมภาษณ์ว่า สิ่งที่ทำให้เธอมั่นใจที่สุดในการแสดงอย่างใดๆ ก็แล้วแต่ การร้องเพลงและการแสดงประกอบเป็นสิ่งที่เธอถนัดที่สุด
นอร์มา จีน เบเกอร์ สมัยที่ยังไม่สวยโฉบเฉี่ยวเธอได้โชว์เสียงเป็นครั้งแรกกับเพลง Every Baby Needs A Da Da Daddy และ Anyone Can Tell I Love You ในภาพยนตร์เรื่อง La-dies Of The Chorus (พ.ศ. 2491) และในปี พ.ศ. 2493 กับ Oh,What A Forward Young Man You Are ในภาพยนตร์เรื่อง A Ticket To Tomahawk ซึ่งมาริลีนแสดงเป็นแค่ตัวประกอบ 1 ใน 3 สาวคอรัส ส่วนฉากที่เรียกได้ว่าทำให้ มาริลีน เริ่มกลายเป็น Sex symbol ส่วนนึงมาจากภาพยนตร์เรื่อง Niagara (1953) ต่อมาเธอได้ร้องเพลง Two Littles Girls From Little Rock, Bye Bye Baby และ When Love Goes Wrong (Nothing Goes Right) ในภาพยนตร์เรื่อง Gentleman Prefer Blondes และต่อมาเพลงที่ถูกมาดอนน่าเลียนแบบไปใน Diamonds Are A Girls's Bestfriend และฉากที่ไม่มีใครลืมเธอเมื่อมาริลีน ร้องเพลง River Of No return กับเปียโนกับชื่อหนังเรื่องเดียวกันในปี 1954
และผลงานนอกจอคือการที่เธอไปร้องเพลง Happy Birthday To You ให้กับประธานาธิบดี จอห์น เอฟ เคเนดี ที่เมดิสัน สแควร์ การ์เด็น เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 (ค.ศ. 1962) ท่ามกลางความตกตะลึงของผู้คน
เสียชีวิต
มาริลิน มอนโร เสียชีวิตที่ แคลิฟอร์เนีย, สหรัฐอเมริกา โดยแม่บ้านของมอนโรชื่อ ยูนิส มูร์เรย์ เป็นผู้พบเห็น เสียชีวิตเพราะใช้ยาเกินขนาด เป็นกรณีศึกษาการเสียชีวิตที่เหมือนกับกรณี จอห์น เอฟ. เคนเนดี ที่เสียชีวิตเพราะถูกฆาตกรรม
อิทธิพลต่อคนรุ่นหลัง
มาริลีน มอนโรมีอิทธิพลกับดาราและศิลปินมากมาย นอกจากมาดอนน่า แล้ว เอลตัน จอห์นเคยร้องเพลงอุทิศให้กับเธอมาแล้วกับ Candle In The Wind ในปี 1973 แต่งเนื้อโดย Bernie Taupin เนื้อหาก็เปรียบชีวิตของมาริลีน เหมือนเปลวเทียนและอุปสรรค ความเหงา โดดเดี่ยว ก็เหมือนสายลมที่เป่าจนเทียนดับลงไป

วันพุธที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์




อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ (เยอรมัน: Albert Einstein) (14 มีนาคม พ.ศ. 2422 - 18 เมษายน พ.ศ. 2498) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎี ชาวเยอรมันเชื้อสายยิวที่มีสัญชาติสวิสและอเมริกัน (ตามลำดับ) ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางว่าเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในคริสต์ศตวรรษที่ 20 เขาเป็นผู้เสนอทฤษฎีสัมพัทธภาพ และมีส่วนร่วมในการพัฒนากลศาสตร์ควอนตัม สถิติกลศาสตร์ และจักรวาลวิทยา เขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี พ.ศ. 2464 จากการอธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก และจาก "การทำประโยชน์แก่ฟิสิกส์ทฤษฎี"

หลังจากที่ไอน์สไตน์ค้นพบทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ในปี พ.ศ. 2458 เขาก็กลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยธรรมดานักสำหรับนักวิทยาศาสตร์คนหนึ่ง ในปีต่อ ๆ มา ชื่อเสียงของเขาได้ขยายออกไปมากกว่านักวิทยาศาสตร์คนอื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ ไอน์สไตน์ ได้กลายมาเป็นแบบอย่างของความฉลาดหรืออัจฉริยะ ความนิยมในตัวของเขาทำให้มีการใช้ชื่อไอน์สไตน์ในการโฆษณา หรือแม้แต่การจดทะเบียนชื่อ "อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์" ให้เป็นเครื่องหมายการค้า

ตัวไอน์สไตน์เองมีความระลึกถึงผลกระทบทางสังคม ซึ่งมีผลมาจากการค้นพบทางวิทยาศาสตร์อย่างลึกซึ้ง ในฐานะที่เขาได้เป็นปูชนียบุคคลแห่งความบรรลุทางปัญญา เขายังคงถูกยกย่องให้เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีที่มีอิทธิพลต่อวิทยาศาสตร์ที่สุดในยุคปัจจุบัน ทุกการสร้างสรรค์ของเขายังคงเป็นที่เคารพนับถือ ทั้งในความเชื่อในความสง่า ความงาม และความรู้แจ้งเห็นจริงในจักรวาล (คือแหล่งเสริมสร้างแรงบันดาลใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่) เป็นสูงสุด ความชาญฉลาดเชิงโครงสร้างของเขาแสดงให้เห็นถึงองค์ประกอบของจักรวาล ซึ่งงานเหล่านี้ถูกนำเสนอผ่านผลงานและหลักปรัชญาของเขา ในทุกวันนี้ ไอน์สไตน์ยังคงเป็นที่รู้จักดีในฐานะนักวิทยาศาสตร์ที่โด่งดังที่สุด ทั้งในวงการวิทยาศาสตร์และนอกวงการ

ไอน์สไตน์เสียชีวิตเมื่อวันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2498 ด้วยโรคหัวใจ

ผลงานของไอน์สไตน์ในสาขาฟิสิกส์มีมากมาย ต่อไปนี้เป็นส่วนหนึ่ง:

ทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ ซึ่งนำกลศาสตร์มาประยุกต์รวมกับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ทฤษฎีใหม่เกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นไปตาม equivalence principle
วางรากฐานของจักรวาลเชิงสัมพัทธ์ และค่าคงที่จักรวาล
ขยายแนวความคิดยุคหลังนิวตัน สามารถอธิบายจุดใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุดของดาวพุธได้อย่างลึกซึ้ง
ทำนายการหักเหของแสงอันเนื่องมาจากแรงโน้มถ่วงและเลนส์ความโน้มถ่วง
อธิบายการเกิดปรากฏการณ์ของแรงยกตัว
ริเริ่มทฤษฎีการแกว่งตัวอย่างกระจายซึ่งอธิบายการเคลื่อนที่ของบราวน์ของโมเลกุล
ทฤษฎีโฟตอนกับความเกี่ยวพันระหว่างคลื่น-อนุภาค ซึ่งพัฒนาจากคุณสมบัติอุณหพลศาสตร์ของแสง
ทฤษฎีควอนตัมเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของอะตอมในของแข็ง
Zero-point energy
อธิบายรูปแบบย่อยของสมการของชเรอดิงเงอร์
EPR paradox
ริเริ่มโครงการทฤษฎีแรงเอกภาพ
ไอน์สไตน์ได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 300 ชิ้น และงานอื่นที่ไม่ใช่วิทยาศาสตร์อีกกว่า 150 ชิ้น ปี พ.ศ. 2542 นิตยสารไทมส์ ยกย่องให้เขาเป็น "บุรุษแห่งศตวรรษ" ผู้เขียนชีวประวัติของเขาเอ่ยถึงเขาว่า "สำหรับความหมายในทางวิทยาศาสตร์ และต่อมาเป็นความหมายต่อสาธารณะ ไอน์สไตน์ มีความหมายเดียวกันกับ อัจฉริยะ"

การคิดค้นทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ
ปี พ.ศ. 2488 ขณะที่ไอน์สไตน์ทำงานอยู่ที่สำนักงานสิทธิบัตร ก็ได้ตีพิมพ์บทความ 4 เรื่องใน Annalen der Physik ซึ่งเป็นวารสารทางฟิสิกส์ชั้นนำของเยอรมัน บทความทั้งสี่นี้ในเวลาต่อมาเรียกชื่อรวมกันว่า "Annus Mirabilis Papers"

บทความเกี่ยวกับธรรมชาติเฉพาะตัวของแสง นำไปสู่แนวคิดที่ส่งผลต่อการทดลองที่มีชื่อเสียง คือปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก หลักการง่ายๆ ก็คือ แสงมีปฏิกิริยากับสสารในรูปแบบของ "ก้อน" พลังงาน (ควอนตา) เป็นห้วงๆ แนวคิดนี้เคยนำเสนอมาก่อนหน้านี้แล้วโดย แมกซ์ พลังค์ ในปี พ.ศ. 2443 ซึ่งเป็นแนวคิดที่ขัดแย้งกับทฤษฎีเกี่ยวกับคลื่นแสงที่เชื่อกันอยู่ในยุคสมัยนั้น
บทความเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของบราวน์ อธิบายถึงการเคลื่อนไหวแบบสุ่มของวัตถุขนาดเล็กมากๆ ซึ่งเป็นผลโดยตรงจากการกระทำของโมเลกุล แนวคิดนี้สนับสนุนต่อทฤษฎีอะตอม
บทความเกี่ยวกับอิเล็กโตรไดนามิกส์ของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่ เป็นกำเนิดของทฤษฎีสัมพัทธภาพพิเศษ แสดงให้เห็นว่าความเร็วของแสงที่กำลังสังเกตอย่างอิสระ ณ สภาวะการเคลื่อนที่ของผู้สังเกตจะต้องมีการเปลี่ยนแปลงโดยพื้นฐานไปเหมือนๆ กัน ผลสืบเนื่องจากแนวคิดนี้รวมถึงกรอบของกาล-อวกาศของวัตถุที่กำลังเคลื่อนที่จะช้าลงและหดสั้นลง (ตามทิศทางของการเคลื่อนที่) โดยสัมพัทธ์กับกรอบของผู้สังเกต บทความนี้ยังโต้แย้งแนวคิดเกี่ยวกับ luminiferous aether ซึ่งเป็นเสาหลักทางฟิสิกส์ทฤษฎีในยุคนั้น ว่าเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น
บทความว่าด้วยสมดุลของมวล-พลังงาน (ซึ่งก่อนหน้านี้เชื่อว่ามันไม่เกี่ยวข้องกันเลย) ไอน์สไตน์ปรับปรุงสมการสัมพัทธภาพพิเศษของเขาจนกลายมาเป็นสมการอันโด่งดังที่สุดแห่งคริสต์ศตวรรษที่ 20 คือ E = mc2 ซึ่งบอกว่า มวลขนาดเล็กจิ๋วสามารถแปลงไปเป็นพลังงานปริมาณมหาศาลได้ ซึ่งเป็นจุดกำเนิดการพัฒนาของพลังงานนิวเคลียร์
แสง กับทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป
ปี พ.ศ. 2449 สำนักงานสิทธิบัตรเลื่อนขั้นให้ไอน์สไตน์เป็น Technical Examiner Second Class แต่เขาก็ยังไม่ทิ้งงานด้านวิชาการ ปี พ.ศ. 2451 เขาได้เข้าเป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยเบิร์น[16] พ.ศ. 2453 เขาเขียนบทความอธิบายถึงผลสะสมของแสงที่กระจายตัวโดยโมเลกุลเดี่ยวๆ ในบรรยากาศ ซึ่งเป็นการอธิบายว่า เหตุใดท้องฟ้าจึงเป็นสีน้ำเงิน[17]

ระหว่าง พ.ศ. 2452 ไอน์สไตน์ตีพิมพ์บทความ "Über die Entwicklung unserer Anschauungen über das Wesen und die Konstitution der Strahlung" (พัฒนาการของมุมมองเกี่ยวกับองค์ประกอบและหัวใจสำคัญของการแผ่รังสี) ว่าด้วยการพิจารณาแสงในเชิงปริมาณ ในบทความนี้ รวมถึงอีกบทความหนึ่งก่อนหน้านั้นในปีเดียวกัน ไอน์สไตน์ได้แสดงว่า พลังงานควอนตัมของมักซ์ พลังค์ จะต้องมีโมเมนตัมที่แน่นอนและแสดงตัวในลักษณะที่คล้ายคลึงกับอนุภาคที่เป็นจุด บทความนี้ได้พูดถึงแนวคิดเริ่มต้นเกี่ยวกับโฟตอน (แม้ในเวลานั้นจะยังไม่ได้เรียกด้วยคำนี้ ผู้ตั้งชื่อ 'โฟตอน' คือ กิลเบิร์ต เอ็น. ลิวอิส ในปี พ.ศ. 2469) และให้แรงบันดาลใจเกี่ยวกับความเกี่ยวพันกันระหว่างคลื่นกับอนุภาค ในวิชากลศาสตร์ควอนตัม

พ.ศ. 2454 ไอน์สไตน์ได้เป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยซูริค แต่หลังจากนั้นไม่นานเขาก็ยอมรับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยชาร์ลส์-เฟอร์ดินานด์ ของเยอรมันที่ตั้งอยู่ในกรุงปราก ที่นี่ไอน์สไตน์ได้ตีพิมพ์บทความเกี่ยวกับผลกระทบของแรงโน้มถ่วงที่มีต่อแสง ซึ่งก็คือการเคลื่อนไปทางแดงเนื่องจากแรงโน้มถ่วง และการหักเหของแสงเนื่องจากแรงโน้มถ่วง บทความนี้ช่วยแนะแนวทางแก่นักดาราศาสตร์ในการตรวจสอบการหักเหของแสงระหว่างการเกิดสุริยคราส[18] นักดาราศาสตร์ชาวเยอรมัน เออร์วิน ฟินเลย์-ฟรอนด์ลิค ได้เผยแพร่ข้อท้าทายของไอน์สไตน์นี้ไปยังนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก[19]

พ.ศ. 2455 ไอน์สไตน์กลับมายังสวิตเซอร์แลนด์และรับตำแหน่งศาสตราจารย์ที่มหาวิทยาลัยเดิมที่เขาเป็นศิษย์เก่า คือ ETH เขาได้พบกับนักคณิตศาสตร์ มาร์เซล กรอสมานน์ ซึ่งช่วยให้เขารู้จักกับเรขาคณิตของรีมานน์และเรขาคณิตเชิงอนุพันธ์ และโดยการแนะนำของทุลลิโอ เลวี-ซิวิตา นักคณิตศาสตร์ชาวอิตาลี ไอน์สไตน์จึงได้เริ่มใช้ประโยชน์จากความแปรปรวนร่วมเข้ามาประยุกต์ในทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของเขา มีช่วงหนึ่งที่ไอน์สไตน์รู้สึกว่าแนวทางนี้ไม่น่าจะใช้ได้ แต่เขาก็หันกลับมาใช้อีก และในปลายปี พ.ศ. 2458 ไอน์สไตน์จึงได้เผยแพร่ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปซึ่งยังคงใช้อยู่ตราบถึงปัจจุบัน ทฤษฎีนี้อธิบายถึงแรงโน้มถ่วงว่าเป็นการบิดเบี้ยวของโครงสร้างกาลอวกาศโดยวัตถุที่ส่งผลเป็นแรงเฉื่อยต่อวัตถุอื่น


รางวัลโนเบล
พ.ศ. 2465 ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี 2464[25] ในฐานะที่ "ได้อุทิศตนแก่ฟิสิกส์ทฤษฎี โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้นพบกฎที่อธิบายปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กทริก" ซึ่งเป็นการอ้างอิงถึงงานเขียนของเขาในปี 2448 "โดยใช้มุมมองจากจิตสำนึกเกี่ยวกับการเกิดและการแปรรูปของแสง" แนวคิดของเขาได้รับการพิสูจน์อย่างหนักแน่นจากผลการทดลองมากมายในยุคนั้น สุนทรพจน์ในการมอบรางวัลยังระบุไว้ว่า "ทฤษฎีสัมพัทธภาพของเขาเป็นหัวข้อถกเถียงที่น่าสนใจที่สุดในวงวิชาการ (และ) มีความหมายในทางฟิสิกส์ดาราศาสตร์ซึ่งประยุกต์ใช้อย่างชัดเจนในปัจจุบัน"[26]

เชื่อกันมานานว่าไอน์สไตน์มอบเงินรางวัลจากโนเบลทั้งหมดให้แก่ภรรยาคนแรก คือมิเลวา มาริค สำหรับการหย่าขาดจากกันในปี พ.ศ. 2462 แต่จดหมายส่วนตัวที่เพิ่งเปิดเผยขึ้นในปี พ.ศ. 2549[27] บ่งบอกว่าเขานำไปลงทุนในประเทศสหรัฐอเมริกา และสูญเงินไปเกือบหมดจากเหตุการณ์เศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่

ไอน์สไตน์เดินทางไปนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เป็นครั้งแรก เมื่อ 2 เมษายน พ.ศ. 2464 เมื่อมีผู้ถามว่า เขาได้แนวคิดทางวิทยาศาสตร์มาจากไหน ไอน์สไตน์อธิบายว่า เขาเชื่อว่างานทางวิทยาศาสตร์จะก้าวหน้าได้จากการทดลองทางกายภาพและการค้นหาความจริงที่ซ่อนเอาไว้ โดยมีคำอธิบายที่สอดคล้องกันได้ในทุกสภาวการณ์โดยไม่ขัดแย้งกันเอง ไอน์สไตน์ยังสนับสนุนทฤษฎีที่ค้นหาผลลัพธ์ในจินตนาการด้วย

วันเสาร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2553

นักปรัชญา.....วอลแตร์



วอลแตร์ (Voltaire 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 - 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321) นักปรัชญาชาวฝรั่งเศสในคริสต์ศตวรรษที่ 18 มีชื่อเดิมว่า ฟรองซัวส์ มารี อรูเอต์ (François-Marie-Arouet) เกิดที่กรุงปารีสเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2237 (ค.ศ. 1694) ในตระกูลคนชั้นกลาง

ประวัติ
วอลแตร์เป็นคนมีการศึกษาดี ฉลาด มีไหวพริบ และมีความสามารถพิเศษทางวรรณศิลป์ เมื่อเขาเข้าศึกษาในโรงเรียนหลุยส์-เลอ-กรอง (Louis-le-Grand) ที่มีชื่อของพระนิกายเยซูอิต ทำให้วอลแตร์มีความสนใจเรื่องประวัติศาสตร์ร่วมสมัย การเมือง ตลอดจนวรรณกรรมของนักเขียนกรีกโรมัน ซึ่งมีอิทธิพลทำให้เขามีรสนิยมแบบคลาสสิก เมื่อเขาจบการศึกษาวอลแตร์ก็ทำงานเป็นทนายความ แต่ความที่เขาเป็นคนหัวแข็งและชอบขบถ จึงไม่ชอบอาชีพนี้เลย เพราะเขาคิดว่าเป็นตำแหน่งที่ ”ซื้อเอาได้” เขาอยากทำงานที่ ”ไม่ต้องซื้อหา”

วอลแตร์หันมาเขียนหนังสืออย่างจริงจังเมื่ออายุได้ 20 ปี เขาชอบเขียนหนังสือประเภทเสียดสีสังคมอยู่เสมอ ถึงแม้ว่าเขาจะคบหาสมาคมกับชนชั้นสูงก็ตามแต่เขาก็ไม่ละเว้นที่จะโจมตีชนชั้นนี้ และในปี พ.ศ. 2260 (ค.ศ. 1717) เขาเขียนกลอนล้อเลียนผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน (Duc d’Orléans) ของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 จึงถูกส่งเข้าคุกบาสตีย์ ขณะที่อยู่ในคุกเขาเขียนบทละครโศกนาฏกรรมเรื่องแรกขึ้นชื่อ เออดิปป์ (Œdipe) ในปี พ.ศ. 2261 (ค.ศ. 1718) เพื่อต่อต้านความเชื่อทางศาสนา ต่อต้านความเชื่อเรื่องโชคเคราะห์ และชะตาลิขิต และเพื่อเน้นความสำคัญทางเสรีภาพของมนุษย์ ละครเรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างงดงาม เมื่อนำออกแสดงภายหลังที่เขาพ้นโทษ ก็ส่งผลให้วอลแตร์มีฐานะทัดเทียมกับกอร์เนย (Corneille) และ ราซีน (Racine) นักเขียนบทละครโศกนาฎกรรมที่ยิ่งใหญ่แห่งศตวรรษที่ 17 และทำให้เขาได้มีโอกาสใช้ชีวิตอย่างหรูหราในราชสำนัก ต่อมาเขาได้ใช้ชื่อ วอลแตร์ (Voltaire) ซึ่งเป็นชื่อที่เขาคิดขึ้นแทนชื่อเดิม

ในปี พ.ศ. 2269 (ค.ศ. 1726) วอลแตร์ถูกขังคุกอีกครั้ง เนื่องจากมีเรื่องพิพาทกับขุนนางชั้นผู้ใหญ่คนหนึ่งคือ ดุ๊ค เดอ โรออง-ชาโบ (Duc de Rohan-Chabot) เมื่อออกมาจากคุกเขาถูกเนรเทศไปประเทศอังกฤษ (พ.ศ. 2269 - 2271) ทำให้เขาได้มีโอกาสศึกษาปรัชญาของ จอห์น ล็อก (John Locke) นักปราชญ์ชาวอังกฤษและผลงานของ วิลเลียม เชกสเปียร์ (William Shakespeare) ที่มีอิทธิพลต่องานละครและผลงานอื่นของเขาในเวลาต่อมาเป็นอย่างมาก บทละครของวอลแตร์ที่ได้รับอิทธิพลจากเช็คสเปียร์ คือ Zaïre และ Brutus เพียงปีเดียวในประเทศอังกฤษ เขาก็มีผลงานเขียนเป็นภาษาอังกฤษชื่อ Essay Upon Epic Poetry นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2271 (ค.ศ. 1728) เขาก็ได้พิมพ์มหากาพย์ชื่อ La Henriade เพื่อสดุดีพระเจ้าอองรีที่ 4 แห่งฝรั่งเศส ในฐานะกษัตริย์ที่ทรงขันติธรรมในด้านศาสนา เนื่องจากทรงเป็นผู้บัญญัติ “L’Edit de Nantes” ซึ่งเป็นกฎหมายที่ช่วยให้สงครามระหว่างพวกคาธอลิกและโปรแตสแตนท์ยุติลงได้ ซึ่งมหากาพย์นี้ไม่สามารถตีพิมพ์ในประเทศ ฝรั่งเศสเนื่องจากไม่เป็นที่พอใจของราชสำนัก รัฐสภาและพระสันตะปาปา

นอกจากนี้ วอลแตร์ยังนิยมความคิดของนิวตัน (Newton) นักฟิสิกส์ นักคณิตศาสตร์ และนักดาราศาสตร์ชาวอังกฤษเป็นอย่างมาก เขาแปลงานของนิวตัน และยังเขียนหนังสือว่าด้วยทฤษฎีของนักวิทยา-ศาสตร์ผู้นี้อีกหลายเล่ม วอลแตร์เห็นว่าแนวความคิดของนิวตันก่อให้เกิดการปฏิวัติในภูมิปัญญาของมนุษย์ เพราะนิวตันเชื่อว่าความจริงย่อมได้จากประสบการณ์และการทดลอง เขาไม่ยอมรับสมมติฐานใด ๆ โดยอาศัยสูตรสำเร็จโดยวิธีของคณิตศาสตร์เพียงอย่างเดียว

เมื่อกลับประเทศฝรั่งเศสวอลแตร์ก็เขียนบทความโจมตีศาสนา เมื่อบาทหลวงปฏิเสธไม่ยอมทำพิธีให้กับนักแสดงละครหญิง ซึ่งรับบทแสดงเป็นราชินีโจคาสต์ ในละครเรื่อง Œdipe นับตั้งแต่นั้นมาวอลแตร์จึงโจมตีเรื่องอคติ และการขาดขันติธรรมของศาสนาคริสต์นิกายคาธอลิกอยู่เสมอ แม้จะถูกตักเตือนและถูกข่มขู่จากผู้มีอำนาจเซ็นเซ่อร์งานเขียนของเขา แต่วอลแตร์ก็ไม่เคยเกรงกลัว นอกจากนี้เขายังเปิดโปงทุกสิ่งทุกอย่างที่เขาเห็นว่าไม่ถูกต้อง

เขาเกือบถูกจับอีกครั้งเมื่อพิมพ์หนังสือชื่อ จดหมายปรัชญา (Les Lettres philosophiques ou Lettres anglaises) ออกมาในปี พ.ศ. 2277 (ค.ศ. 1734) จดหมายปรัชญา มีทั้งความคิด เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย ที่เขียนด้วยโวหารที่คมคาย พร้อมด้วยการเสียดสีที่ถากถาง วอลแตร์วิพากษ์วิจารณ์ทั้งศาสนา การเมือง วิทยาศาสตร์ ปรัชญา และจบลงด้วยการวิจารณ์แบลส ปาสกาล (Blaise Pascal) นักคิดคนสำคัญทางด้านศาสนาในศตวรรษที่ 17 ผลงานชิ้นนี้ทำให้วอลแตร์กลายเป็นนักปราชญ์ที่ไม่เคยทำให้ผู้อื่นเบื่อ เป็นงานที่ลีลาการเขียนเฉพาะตัวของเขาเริ่มปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน และด้วยหนังสือเล่มนี้ทำให้เขาต้องหนีไปอยู่ที่วังซิเรย์ (Cirey) ของ มาดาม ดู ชาเตอเล่ท์ (Madame du Châtelet) ในแคว้นลอแรนน์ หล่อนเป็นสตรีผู้สูงศักดิ์และทรงความรู้ ทั้งคู่มีความสัมพันธ์กันยาวนานถึง 17 ปี วอลแตร์รักหล่อนมาก นับว่าหล่อนเป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญอีกคนหนึ่ง

ตลอดเวลาที่พักอยู่วังซิเรย์ วอลแตร์จะเขียนหนังสืออยู่ไม่หยุด และจะสนใจศึกษาเรื่องวิทยาศาสตร์ด้วย เขามีโอกาสเดินทางไปต่างประเทศ เช่น ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศเบลเยี่ยม ประเทศปรัสเซีย ซึ่งเขาได้กลายเป็นคนโปรดของพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งประเทศปรัสเซีย (Frederic II roi de Prusse) ในปี พ.ศ. 2288 (ค.ศ. 1745) วอลแตร์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นนักประวัติศาสตร์แห่งชาติ และปีต่อมาก็ได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกราชบัณฑิตยสถานของฝรั่งเศส (l’Académie française) และยังได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนนางอีกด้วย จากการที่วอลแตร์เป็นคนที่มีความสามารถ เขาจึงได้กลายเป็นที่โปรดปรานของ มาดาม เดอ ปอมปาดูร์ (Madame de Pompadour) พระสนมเอกของพระเจ้าหลุยส์ที่ 15 แต่อย่างไรก็ตามชีวิตของเขาก็เริ่มตกอับ กล่าวคือเขาเริ่มเบื่อหน่ายกับชีวิตในราชสำนัก ที่มีแต่การเอารัดเอาเปรียบ การแก่งแย่งชิงดี ประจบสอพลอ อีกทั้งมาดาม ดู ปอมปาดูร์ ก็หันไปโปรดกวีคนใหม่คือ Crébillon และยิ่งร้ายไปกว่านั้นในปี พ.ศ. 2292 (ค.ศ. 1749) มาดาม ดู ชาเตอเล่ย์ ก็ได้เสียชีวิตลง วอลแตร์จึงรู้สึกโดดเดี่ยวอ้างว้างมาก ชะตาชีวิตระหว่างปี พ.ศ. 2286 - 2290 นี้ นับเป็นแรงบันดาลใจให้เขาแต่งนวนิยายเชิงปรัชญาที่สำคัญ คือ ซาดิก (Zadig ou La Destineé) ซึ่งตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2291 (ค.ศ. 1748)

นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) เขาได้รับเชิญจากพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 ให้ไปอยู่ในราชสำนัก ระหว่างที่พักอยู่ที่ราชสำนักเบอร์ลินเขาได้ตีพิมพ์ผลงานที่สำคัญสองเรื่อง คือ ศตวรรษพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 (Le Siècle de Louis XIV) และนิทานปรัชญาเรื่อง มิโครเมกาส (Micromégas) ต่อมาไม่นานวอลแตร์กลับได้พบความผิดหวังในตัวพระองค์อย่างรุนแรง เพราะพระองค์ทรงเห็นวรรณคดีและปรัชญาเป็นเพียงเครื่องเล่นประเทืองอารมณ์เท่านั้น อีกทั้งพระองค์ทรงเล่นการเมืองด้วยความสับปรับ และเมื่อมีปัญหากับพระเจ้า-เฟรเดอริคที่ 2 วอลแตร์ก็ได้ไปตั้งรกรากอยู่ในกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ที่คฤหาสน์ เล เดลิซ (Les Délices) และอยู่ที่นั่นกับหลานสาวชื่อมาดามเดอนีส์ (Madame Denis) ซึ่งมีความสัมพันธ์กันมาได้สิบปีแล้ว ในปี พ.ศ. 2300 วอลแตร์ซื้อคฤหาสน์ใหม่ที่แฟร์เนย์ (Ferney) ในประเทศฝรั่งเศสติดชายแดนสวิสเซอร์แลนด์ และเขาได้เริ่มเขียนนิทานปรัชญาเรื่อง ก็องดิดด์ หรือ สุทรรศนิยม (Candide ou L’optimisme) ในปีต่อมา ซึ่งถือกันว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของเขาอีกเรื่องหนึ่งเลยที่เดียว ผลงานชิ้นนี้ได้ยืนยันความเป็นปราชญ์ของวอลแตร์ ผู้ซึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งความคิดวิพากษ์ วิจารณ์ในศตวรรษที่18 ได้เป็นอย่างดี

ระหว่างในปี พ.ศ. 2305 – 2308 วอลแตร์ได้ช่วยเหลือครอบครัวกาลาส (Calas) โดยการเรียกร้องความยุติธรรมให้แก่ ฌอง กาลาส ผู้เป็นบิดาซึ่งถูกตัดสินลงโทษจนเสียชีวิต จากข้อกล่าวหาว่าฆ่าลูกชายที่ประสงค์จะเปลี่ยนไปนับถือนิกายคาทอลิก เขาจึงได้เขียน บทความว่าด้วยขันติธรรม (Traité sur la tolérance)

ในปี พ.ศ. 2306 ซึ่งพูดถึงการยอมรับศาสนาที่แตกต่างกันออกไปเพื่อช่วยเรียกร้องความเป็นธรรมให้กับครอบครัวกาลาส เหตุที่เขาเข้าไปช่วยเพราะเขาเห็นว่าไม่มีอะไรเลวร้ายไปกว่าการลงโทษประหารชีวิต ผู้บริสุทธิ์ และคำตัดสินใหม่ก็ทำให้ตระกูลกาลาสพ้นผิด ภรรยาและบุตรธิดาของฌอง กาลาสก็ได้รับทรัพย์สมบัติของตระกูลคืน จากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้วอลแตร์เปรียบเสมือนวีรบุรุษแห่งตำนาน เป็นประทีปแห่งปัญญาที่ไม่เคยมีปัญญาชนคนใดเคยทำมาก่อน

ช่วงนี้วอลแตร์ก็ยังมีผลงานคือ ปทานุกรมปรัชญา หรือ Le Dictionnaire Philosophique ในปี พ.ศ. 2307 (ค.ศ. 1764) อีกด้วย อย่างไรก็ตามแม้ว่าเขาจะมีความขัดแย้งกับผู้คนจำนวนมาก เพราะความกล้าที่จะเสียดสีสังคมของเขา แต่ในตอนบั้นปลายชีวิตของวอลแตร์ เขาก็ได้รับการต้อนรับอย่างทรงเกียรติ เมื่อเดินทางกลับมายังกรุง ปารีส ซึ่งโรงละครกอมเมดี ฟรองแซส (La Comédie Française) จัดแสดงละครโศกนาฏกรรมเรื่องสุดท้ายที่วอลแตร์แต่งคือ อิแรนน์ (Irène) เพื่อฉลองการกลับมาถึงกรุงปารีสของเขา โดยที่ช่วงก่อนการแสดง ช่วงสิ้นสุดแต่ละองค์ และช่วงจบการแสดง นักแสดงได้นำรูปปั้นครึ่งตัวของวอลแตร์ขึ้นบนเวที ฝูงชนก็ตบมือและส่งเสียงเรียกชื่อของเขาดังกึกก้อง

ศตวรรษต่อมาวิคตอร์ ฮูโก (Victor Hugo) กล่าวว่า "วอลแตร์ คือ 1789" เพราะความคิดของ วอลแตร์มีอิทธิพลต่อประชาชนผู้ลุกฮือขึ้นมาทำการปฏิวัติใหญ่ในประเทศฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2332 จึงไม่น่าแปลกใจเลยว่า เมื่อวอลแตร์เสียชีวิตไปในวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2321 (ค.ศ. 1778) ขณะที่มีอายุได้ 84 ปีนั้น ทางศาสนาไม่อยากทำพิธีศพให้ แต่เมื่อประชาชนทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ก็ได้นำอัฐิของเขาไปยังวิหารปองเตอง (Le Panthéon) ในปี 1791 ในฐานะผู้ที่ประกอบคุณอนันต์ให้แก่ประเทศฝรั่งเศส

ผลงานของวอลแตร์
ผลงานของวอลแตร์มีจำนวนมากมาย หลากหลายประเภททั้งบทละคร นิยาย นิทานเชิงปรัชญา ประวัติศาสตร์ และบทกวี เขาได้รับยกย่องจากคนร่วมสมัยว่าเป็นนักเขียนบทละครชั้นนำและกวีชั้นนำ แต่ในปัจจุบันเขากลับเป็นที่ยกย่องในฐานะนักเขียนเชิงเสียดสี วิพากษ์วิจารณ์ (Le symbole de l’esprit critique) ผลงานของเขาส่วนใหญ่เป็นการเผยแพร่ความคิดทางปรัชญาไปสู่สาธารณชน เพื่อปลุกความคิดวิพากษ์วิจารณ์ให้แก่ชาวฝรั่งเศส เพื่อต่อต้านความคิดระบบสถาบันแบบเก่า การต่อสู้เพื่อขจัดความ อยุติธรรมในสังคม รวมทั้งความเชื่อที่งมงายและความบ้าคลั่งทางศาสนา นอกจากนี้เขายังส่งเสริมเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพและการแสดงความคิดเห็นอีกด้วย

อิทธิพลของวอลแตร์
ผลงานตลอดชีวิตของวอลแตร์ได้ก่อให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า “ความคิดวิพากวิจารณ์” (L‘esprit critique) แก่ชาวฝรั่งเศสโดยรวม ความคิดวิพากวิจารณ์นี้ทำให้ชาวฝรั่งเศสตั้งคำถามต่อทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ที่ปรากฏในสังคมของตน ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาบันการเมืองการปกครอง โดยเขาได้โจมตีระบอบการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ สถาบันกษัตริย์ การใช้อำนาจตามอำเภอใจของกษัตริย์ สถาบันศาสนา โจมตีคำสอนความเชื่อที่งมงาย เป็นต้น

วอลแตร์ได้นำหลักการใช้เหตุผล (L’esprit scientifique) มาแพร่หลายให้แก่ประชาชน เพื่อมาใช้ในการดำเนินชีวิต โดยการใช้เหตุผลแก้ปัญหา และรู้จักคิดพิจารณาก่อนจะเชื่ออะไรง่าย ๆ เขาใช้ผลงานของเขามาเป็นเครื่องมือในการเผยแพร่แนวความคิดทางปรัชญาและนำไปสู่สาธารณชน เพื่อทำให้ประชาชนได้เห็นได้เข้าใจและตระหนักถึงสิ่งเหล่านั้น ซึ่งแนวคิดและความรู้เหล่านี้จึงเปรียบเสมือนกับแสงสว่างทางปัญญาให้แก่ประชาชน วอลแตร์จึงเป็นผู้ที่มีส่วนทำให้ประชาชนมีเสรีภาพทางความคิดและทำให้ผู้คนสนใจการเมืองการปกครองแบบอังกฤษ

ดังนั้นอาจกล่าวได้ว่าวอลแตร์มีอิทธิพลต่อคริสตวรรษที่ 18 เป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นผลนำไปสู่ การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ทั้งทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและศาสนา ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “การปฏิวัติฝรั่งเศส พ.ศ. 2332”

นักปรัชญา.....ฌอง-ฌาค รุสโซ



ฌอง-ฌาค รุสโซ (Jean Jaques Rousseau) (28 มิถุนายน พ.ศ. 2255 - 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2321) เป็นนักปรัชญา, นักเขียน, นักทฤษฎีการเมือง, และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเอง แห่งยุคแสงสว่าง

ปรัชญาของรุสโซ
คำสอนของเขาสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ { back to nature } เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า "ธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน" เขาบอกว่า "เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล"

ทฤษฎี 'คนเถื่อนใจธรรม'
รุสโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ หรือเป็น "คนเถื่อนใจธรรม" (nobel savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ (สภาวะเดียวกันกับสัตว์อื่นๆ และเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรม และสังคม) แต่ถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคมนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์

ความเรียงชื่อ "การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์" (พ.ศ. 2293) ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน เขาสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัย

งานชิ้นถัดมาของเขา การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัยโบราณ จนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ในยุคแรกสุดนั้น เป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมีความต้องการอย่างอิสระ (free will) และเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาความสมบูรณ์แบบได้ เขายังได้กล่าวว่ามนุษย์ยุคบุคเบิกนี้มีความต้องการพื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเอง และมีความรู้สึกห่วงหาอาทรหรือความสงสาร เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร จึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อกาีรมีชีวิตที่ดีของตนเอง รุสโซได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์