วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
เผยคนไทย 1 ล้านคน ป่วยโรคอัลไซเมอร์
ศึกษาพบคนไทยถึง 1 ล้านคนเป็นอัลไซเมอร์ และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยคนแก่เป็นกลุ่มเสี่ยง แนะป้องกันอย่างใกล้ชิด... นพ.ธงชัย ทวิชาชาติ กรรมการมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย กล่าววันนี้ (26 พ.ค.) ว่า จากผลศึกษาของสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขพบปัจจุบันประเทศไทยมีผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปกว่า 7 ล้านคน และคาดว่า จะมีผู้สูง อายุเป็นโรคสมองเสื่อมประมาณ 2.1 ล้านคน ในจำนวนนี้ เป็นผู้ที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ถึง 1 ล้านกว่าคน ที่สำคัญยังพบว่าแนวโน้มของผู้เป็นโรคอัลไซเมอร์ในประเทศไทยจะเพิ่มมากขึ้นในอนาคต โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ดังนั้น จึงต้องมีการดำเนินการป้องกันอย่างใกล้ชิด กรรมการมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย กล่าวต่อว่า อาการเตือนของโรคอัลไซเมอร์มีหลายระดับเริ่ม แรกอาจจะเป็นเพียงหลงลืมเล็กน้อย จนถึงระดับที่เป็นมาก โดยเริ่มจาก 1. ความผิดปกติด้านความทรงจำ จำอะไรไม่ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจำใหม่ และเริ่มมากขึ้นจนลืมความทรงจำในอดีต 2. ความผิดปกติเกี่ยวกับการใช้ภาษา ผู้ป่วยจะหาคำพูดที่เหมาะสมกับคำที่จะพูดไม่ได้ เรียกชื่อสิ่งของผิดและไม่มีสมาธิทำให้ไม่สามารถสนทนาหรือสร้างประโยคได้จึงทำให้พูดประโยคสั้นลงจนในที่สุดอาจจะพูดซ้ำๆ หรือไม่พูดเลย 3. ความผิด ปกติเกี่ยวกับความรู้ทิศทางและเวลา ผู้ป่วยอาจหลงทาง ไม่รู้วัน เวลา สถานที่ บุคคล และกลางคืนไม่ยอมนอน หรือนอนไม่เป็นเวลานพ.ธงชัย กล่าวถึงอาการเตือนโรคอัลไซเมอร์ต่อว่า 4.ความผิดปกติของความเฉลียวฉลาด ความสามารถของผู้ป่วยที่เคยมีขาดหายไป 5.บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลงและพบอาการทางจิตเวช โดยอาการที่พบบ่อยมากที่สุดคือ มีพฤติกรรมซ้ำๆ ซึมเศร้า ไม่สนใจสิ่งแวดล้อม หงุดหงิด หวาดระแวง และพฤติกรรมที่ผิดปกติ เช่น การแสดงออกทางสังคมไม่เหมาะสม เห็นภาพหลอน หูแว่ว เป็นต้น และ 6. ความผิดปกติทางระบบการเคลื่อนไหวและระบบประสาทส่วนอื่นๆ ด้านคุณหญิงอุไรวรรณ ศิรินุพงศ์ รองประธานมูลนิธิโรคอัลไซเมอร์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า เพื่อป้องกันกลุ่มเสี่ยงต่อโรคอัลไซเมอร์ 1-5 มิ.ย.นี้ มูลนิธิโรคอัลไซเมอร์ฯ จะร่วมกับ กรุงเทพมหานครและศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย ได้จัดทำ โครงการ “คัดกรองความจำ” ขึ้น ณ ศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่งในเขตกรุงเทพฯ เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้สูงอาย และผู้ดูแลได้เข้าร่วมกิจกรรมได้ทราบถึงสัญญาณเตือนถึงการเป็นโรคอัลไซเมอร์ เพื่อการเตรียมความพร้อมป้องกันตั้งแต่เริ่มแรก โดยกลุ่มคนที่ควรจะไปคัดกรองความจำในครั้งนี้คือผู้ที่มีอายุ 60 ปี ขึ้นไป ผู้ที่มีปัญหาเรื่องความจำ มีปัจจัยเสี่ยงเนื่องจากมีญาติมีประวัติเคยรักษาโรคอัลไซเมอร์ส่วน พญ.มาลินี สุขเวชชวรกิจ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า กรุงเทพมหานคร ได้เตรียมความพร้อมในด้านการให้บริการกับผู้สูงอายุที่สนใจเข้าร่วมคัดกรองในครั้งนี้ โดยเชิญวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางจิตเวชศาสตร์จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่ ศ.พญ.นันทิกา ทวิชาชาติ หัวหน้าคลินิกความจำ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ รศ.พวงสร้อย วรกุล นักจิตวิทยาประจำโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาให้การอบรมเจ้าหน้าที่ของศูนย์บริการสาธารณสุขทั้ง 68 แห่ง ด้วย
วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
ประวัติกาแฟไทย
ประวัติกาแฟไทย ]
สร้างเมือ 30-05-2007
-->
คำว่า กาแฝ่ ปรากฏในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ของหมอบรัดเลย์ ตีพิมพ์เมื่อปี พ . ศ .2416 ว่า
กาแฝ่ , ต้นไม้อย่างหนึ่ง มาแต่เมืองนอก เม็ดมันต้มน้ำร้อนกินคล้ายใบชา
มีบันทึกว่าเมืองไทยปลูกกาแฟมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ทว่าแพร่หลายจริงจัง นิยมปลูกและนิยมดื่มก็ล่วงเข้ามาสมัยรัตนโกสินทร์ ในพ . ศ .2367 สมัยรัชกาลที่ 3 ประเทศไทยเริ่มมีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศ เช่น อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ( ดัตช์ ) ได้มีการนำกาแฟมาทดลองปลูกกันในพระบรมมหาราชวังและแจกจ่ายให้เสนาบดีเพาะต้นกาแฟแจกจ่ายไปปลูกกัน
ในสมัยรัชกาลที่ 4 สมเด็จพระมหาประยูรวงศ์ ท่านมีสวนกาแฟ เมื่อคราวได้ต้อนรับเซอร์ยอร์น เบาว์ริ่ง ท่านได้มอบกาแฟให้ท่านเซอร์ไปเป็นตัวอย่างถึง 3 กระสอบ นอกจากนี้พ่อค้าชาวดัตซ์หรือชาวอังกฤษจากแหลมมาลายูอาจนำกาแฟเข้ามาแลกเปลี่ยนกันสินค้ากับพ่อค้าชาวไทยจึงมีการนำพันธุ์กาแฟมาปลูกในพื้นที่ภาคใต้ กาแฟพันธุ์โรบัสต้า สันนิฐานว่านำมาปลูกราว ปี พ . ศ .2447 ชาวไทยอิสลามชื่อ นายตีหมุน เป็นผู้นำมาปลูกครั้งแรกที่ตำบลบ้านตะโหนด อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา สันนิษฐานว่านำมาจากประเทศอินโดนีเซีย เพราะช่วงนั้นประเทศอินโดนีเซียกำลังตื่นตัวการปลูกกาแฟโรบัสต้า จากบันทึกของพระสารศาสตร์พลขันธ์ ( นายเจรินี ชาวอิตาลี ) กล่าวว่าประเทศไทยมีการนำพันธุ์กาแฟอาราบิก้าเข้ามาปลูกตั้งแต่ปี พ . ศ .2493 แล้ว ต่อมาในระหว่างปี 2515-2522 ได้มีการดำเนินโครงการปลูกพืชทดแทนฝิ่นในเขตภาคเหนือ พบว่ากาแฟอาราบิก้ามีศักยภาพในการปลูกทดแทนฝิ่นได้ ในปี 2523 จึงมีการส่งเสริมปลูกกาแฟอาราบิก้าทดแทนฝิ่นจนถึงปัจจุบัน
ส่วนวัฒนธรรมการดื่มกาแฟมีการเปิดร้านกาแฟแห่งแรกในกรุงเทพฯ โดยชาวอเมริกัน ตั้งอยู่ที่บริเวณสี่กั๊กพระยาศรี ต่อมาได้มีร้านขายของชำชื่อ ตุงฮูสโตร์ขายกาแฟยี่ห้อ ตุงฮู ในสมัยราชกาลที่ 6 โปรดเกล้าให้ตั้งร้านกาแฟชื่อ นรสิงห์ ขึ้นบริเวณริมถนนศรีอยุธยาริมลานพระบรมรูปทรงม้า ต่อมามีการตั้งร้านกาแฟขึ้นอีกหลายร้าน ที่มีชื่อเสียงจนถึงปัจจุบันเช่น ออนล๊อกหยุ่น เอี๊ยแซ เป็นต้น
วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
สอบไม่ติด...ก็แค่เรื่องธรรมดา
ยังมีคนอีกตั้งครึ่งค่อนประเทศที่พลาดหวังจากการสอบในครั้งนี้เหมือนเรา
น้องคนไหน ที่กำลังตกอยู่ในห้วงของความผิดหวัง เสียใจ และทดท้อหมดกำลังใจจากผลของการสอบคัดเลือกเข้าสถาบันการศึกษาตามที่คาดหวังเอาไว้ อย่าเพิ่งปล่อยให้ตัวเองโดนกลืนกินด้วยความท้อถอยไปนะคะ อยากให้ลองหันมาฟังทางนี้ เอ้า ก็ชีวิตมันยังไม่ได้จะจบตรงนี้ซะหน่อย ถ้าไม่ลุกแล้วเดินต่อ จะไปถึงปลายทางได้อย่างไรกันจ๊ะ
อย่าลืมไปว่า นี่เป็นแค่หนึ่งเรื่องที่ผ่านเข้ามาทดสอบความเข้มแข็งของเราเท่านั้น การวัดนั้นไม่ได้อยู่ที่ว่าใครสอบติดหรือไม่ติดตามสิ่งที่ตัวเองหวัง แต่อยู่ที่การเรียนให้ได้ดีในคณะและวิชาที่เราเลือก และสามารถนำความรู้ทีได้รับ ออกมาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและในชีวิตจริงต่างหาก ถึงจะเรียกว่าเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ผู้คนที่ก้าวมาอยู่ในจุดสูงสุดของชีวิตมากมาย ก็ไม่ได้มาจากมหาลัยปิดหรือมหาวิทยาลัยรัฐเท่านั้น นั่นก็หมายความว่า การสอบคัดเลือกในครั้งนี้ไม่ใช่เครื่องวัดว่าเราจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในชีวิต ต้องเรียกว่าเป็นแค่จุดเริ่มต้นถึงจะถูก ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกเริ่มชีวิตของเราอย่างไร นั่นต่างหากที่สำคัญลองมองรอบๆ ตัว ออกไปจนถึงข้างนอก ตามถนนหนทาง ผู้คนมากมายที่มีเรื่องผิดหวัง คงไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่พลาดหวังจากการสอบในครั้งนี้ ยังมีคนอีกตั้งครึ่งค่อนประเทศที่เหมือนเรา ก็ใช่ว่าทุกคนจะต้องเสียอกเสียใจไม่ต้องคิดทำอะไรกันต่อไป เปล่าเลย เรียนที่นี่ไม่ได้ ก็เรียนที่อื่น หรือไม่ก็เตรียมตัวใหม่อีกครั้งเพื่อลองใหม่อีกปีหน้า ถ้าอยากจะสอบคณะที่เราหวังให้ได้จริงๆ เอ้า ก็ลองใหม่ไม่ว่ากัน แต่สิ่งสำคัญ ต้องเข้าใจไว้อย่างว่า วิชาความรู้นั้น เราหาและขวนขวายได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะต่อให้เราสอบชิงชัยได้ที่นั่งในมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งตามที่เราหวังไว้ แต่เมื่อเข้าไปเรียนแล้ว ไม่เอาวิชาหรือสิ่งที่ประโยชน์ติดตัวออกมา ก็ไม่น่าจะลงแรงสอบแข่งขันให้เหนื่อยเปล่าเลย เรียกว่าไปกินที่คนอื่นที่เขามีความตั้งใจจะเรียนซะเปล่าๆ บางคนอาจจะห่วงไปถึงเรื่องการทำงาน ว่าชื่อของสถาบันอาจมีผลต่อการสมัครงานหรือรับเข้าทำงานในวันข้างหน้า กับความเชื่อที่ว่าใครมาจากสถาบันชื่อดังก็มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณามากกว่านั้น อยากจะบอกว่ามันหมดยุคไปแล้วจ้ะ เดี๋ยวนี้โลกการทำงานเปิดกว้างมากขึ้น โอกาสมีรออยู่เสมอสำหรับคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีความกระตือรือร้นในการทำงานมากกว่าคนที่มีแค่ชื่อสถาบันติดตัวออกมาเท่านั้น เพราะฉะนั้น ไม่ว่าเราจะจบมาจากที่ไหนไม่สำคัญ มันอยู่ที่ว่าเราฝึกฝนตัวเองให้พร้อมเริ่มต้นการทำงานในชีวิตจริงได้มากน้อยแค่ไหน โอกาสย่อมเป็นของคนที่พร้อมกว่าไม่ใช่คนที่มาจากที่ๆ ดังกว่าซะหน่อย แต่ถึงแม้ชื่อสถาบันจะแทบไม่มีผลต่อการคัดเลือกเข้าทำงานในสมัยนี้แล้ว แต่ผลการเรียนนั้นยังเป็นส่วนสำคัญที่ยังคงมีความหมายอย่างยิ่ง เพราะยังถือเป็นตัวบ่งชี้ถึงความรับผิดชอบของตัวเราที่มีได้อย่างชัดเจนมาก เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียนที่ไหน ก็ต้องตั้งใจให้เกรดสวยๆ ไว้ ไม่เสียหายแน่นอนเส้นทางสู่ความสำเร็จนั้น ไม่ได้ถูกขีดไว้เป็นเส้นตรง มีหนทางมากมายที่เราจะเลือกก้าวเดินไปเพื่อให้ถึงจุดนั้นของชีวิต เพราะฉะนั้น จงเลือกทางที่เหมาะสมให้กับตัวเราเอง ส่วนจะใช้เวลาในการเดินทางเร็วหรือช้านั้นไม่สำคัญ แต่จงมองหามุมที่มีความสุขบนเส้นทางนั้นให้เจอ แล้วเต็มที่กับทางที่เราเลือก ก้าวเดินอย่างมั่นใจ อย่าให้เสียกำลังใจของคนที่เอาใจช่วยเราอยู่รอบๆ ข้าง ความสุขและความสำเร็จมีให้เราไขว่คว้าอยู่รอบตัว ลองเปิดใจให้กว้างแล้วค้นหาสิ่งนั้นด้วยตัวเราเอง ยังมีสิ่งใหม่น่าค้นหารอเราอยู่ในทางข้างหน้ามากมาย ถ้าไม่ก้าวเดินไป จะเจอสิ่งดีๆ ที่รออยู่ได้อย่างไรกันจ๊ะ จริงไหม
น้องคนไหน ที่กำลังตกอยู่ในห้วงของความผิดหวัง เสียใจ และทดท้อหมดกำลังใจจากผลของการสอบคัดเลือกเข้าสถาบันการศึกษาตามที่คาดหวังเอาไว้ อย่าเพิ่งปล่อยให้ตัวเองโดนกลืนกินด้วยความท้อถอยไปนะคะ อยากให้ลองหันมาฟังทางนี้ เอ้า ก็ชีวิตมันยังไม่ได้จะจบตรงนี้ซะหน่อย ถ้าไม่ลุกแล้วเดินต่อ จะไปถึงปลายทางได้อย่างไรกันจ๊ะ
อย่าลืมไปว่า นี่เป็นแค่หนึ่งเรื่องที่ผ่านเข้ามาทดสอบความเข้มแข็งของเราเท่านั้น การวัดนั้นไม่ได้อยู่ที่ว่าใครสอบติดหรือไม่ติดตามสิ่งที่ตัวเองหวัง แต่อยู่ที่การเรียนให้ได้ดีในคณะและวิชาที่เราเลือก และสามารถนำความรู้ทีได้รับ ออกมาใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพและในชีวิตจริงต่างหาก ถึงจะเรียกว่าเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จอย่างแท้จริง ผู้คนที่ก้าวมาอยู่ในจุดสูงสุดของชีวิตมากมาย ก็ไม่ได้มาจากมหาลัยปิดหรือมหาวิทยาลัยรัฐเท่านั้น นั่นก็หมายความว่า การสอบคัดเลือกในครั้งนี้ไม่ใช่เครื่องวัดว่าเราจะประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในชีวิต ต้องเรียกว่าเป็นแค่จุดเริ่มต้นถึงจะถูก ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกเริ่มชีวิตของเราอย่างไร นั่นต่างหากที่สำคัญลองมองรอบๆ ตัว ออกไปจนถึงข้างนอก ตามถนนหนทาง ผู้คนมากมายที่มีเรื่องผิดหวัง คงไม่ใช่เราคนเดียวเท่านั้นที่พลาดหวังจากการสอบในครั้งนี้ ยังมีคนอีกตั้งครึ่งค่อนประเทศที่เหมือนเรา ก็ใช่ว่าทุกคนจะต้องเสียอกเสียใจไม่ต้องคิดทำอะไรกันต่อไป เปล่าเลย เรียนที่นี่ไม่ได้ ก็เรียนที่อื่น หรือไม่ก็เตรียมตัวใหม่อีกครั้งเพื่อลองใหม่อีกปีหน้า ถ้าอยากจะสอบคณะที่เราหวังให้ได้จริงๆ เอ้า ก็ลองใหม่ไม่ว่ากัน แต่สิ่งสำคัญ ต้องเข้าใจไว้อย่างว่า วิชาความรู้นั้น เราหาและขวนขวายได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะต่อให้เราสอบชิงชัยได้ที่นั่งในมหาวิทยาลัยอันดับหนึ่งตามที่เราหวังไว้ แต่เมื่อเข้าไปเรียนแล้ว ไม่เอาวิชาหรือสิ่งที่ประโยชน์ติดตัวออกมา ก็ไม่น่าจะลงแรงสอบแข่งขันให้เหนื่อยเปล่าเลย เรียกว่าไปกินที่คนอื่นที่เขามีความตั้งใจจะเรียนซะเปล่าๆ บางคนอาจจะห่วงไปถึงเรื่องการทำงาน ว่าชื่อของสถาบันอาจมีผลต่อการสมัครงานหรือรับเข้าทำงานในวันข้างหน้า กับความเชื่อที่ว่าใครมาจากสถาบันชื่อดังก็มีสิทธิ์ได้รับการพิจารณามากกว่านั้น อยากจะบอกว่ามันหมดยุคไปแล้วจ้ะ เดี๋ยวนี้โลกการทำงานเปิดกว้างมากขึ้น โอกาสมีรออยู่เสมอสำหรับคนรุ่นใหม่ไฟแรงที่มีความกระตือรือร้นในการทำงานมากกว่าคนที่มีแค่ชื่อสถาบันติดตัวออกมาเท่านั้น เพราะฉะนั้น ไม่ว่าเราจะจบมาจากที่ไหนไม่สำคัญ มันอยู่ที่ว่าเราฝึกฝนตัวเองให้พร้อมเริ่มต้นการทำงานในชีวิตจริงได้มากน้อยแค่ไหน โอกาสย่อมเป็นของคนที่พร้อมกว่าไม่ใช่คนที่มาจากที่ๆ ดังกว่าซะหน่อย แต่ถึงแม้ชื่อสถาบันจะแทบไม่มีผลต่อการคัดเลือกเข้าทำงานในสมัยนี้แล้ว แต่ผลการเรียนนั้นยังเป็นส่วนสำคัญที่ยังคงมีความหมายอย่างยิ่ง เพราะยังถือเป็นตัวบ่งชี้ถึงความรับผิดชอบของตัวเราที่มีได้อย่างชัดเจนมาก เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะเรียนที่ไหน ก็ต้องตั้งใจให้เกรดสวยๆ ไว้ ไม่เสียหายแน่นอนเส้นทางสู่ความสำเร็จนั้น ไม่ได้ถูกขีดไว้เป็นเส้นตรง มีหนทางมากมายที่เราจะเลือกก้าวเดินไปเพื่อให้ถึงจุดนั้นของชีวิต เพราะฉะนั้น จงเลือกทางที่เหมาะสมให้กับตัวเราเอง ส่วนจะใช้เวลาในการเดินทางเร็วหรือช้านั้นไม่สำคัญ แต่จงมองหามุมที่มีความสุขบนเส้นทางนั้นให้เจอ แล้วเต็มที่กับทางที่เราเลือก ก้าวเดินอย่างมั่นใจ อย่าให้เสียกำลังใจของคนที่เอาใจช่วยเราอยู่รอบๆ ข้าง ความสุขและความสำเร็จมีให้เราไขว่คว้าอยู่รอบตัว ลองเปิดใจให้กว้างแล้วค้นหาสิ่งนั้นด้วยตัวเราเอง ยังมีสิ่งใหม่น่าค้นหารอเราอยู่ในทางข้างหน้ามากมาย ถ้าไม่ก้าวเดินไป จะเจอสิ่งดีๆ ที่รออยู่ได้อย่างไรกันจ๊ะ จริงไหม
วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2552
เเบตเตอรี่
อีกไม่นาน Laptop, iPod หรือ โทรศัพท์มือถือ ทำงานได้ด้วยพลังงานจากแบตเตอรี่ไวรัส! นักวิจัยได้ค้นพบวิธีตัดต่อพันธุกรรมให้เจ้าเชื้อโรคตัวร้ายทำงานได้เหมือนกับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ งานวิจัยชิ้นนี้ถูกนำออกเสนอทางอินเตอร์เนตในเว็ป Science ครั้งแรกในวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมาในงานวิจัยก่อนหน้านี้ ทางทีมวิจัยได้ตัดต่อพันธุกรรมให้ไวรัสทำหน้าที่เป็น electrode ด้านลบหรือ anode ได้สำเร็จ ในงานวิจัยชิ้นนี้ พวกเขาทำให้ไวรัสทำหน้าที่เป็น electrode ด้านบวกหรือ cathode ซึ่งเมื่อนำเอาไวรัสสองชนิดนี้มาใช้งานรวมกัน เราก็จะได้แบตเตอรี่จากไวรัส ซึ่งนอกจากจะทำงานได้มีประสิทธิภาพดีกว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนแล้ว ยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วย“เพราะว่าไวรัสนั้นเป็นสิ่งมีชีวิต เราจึงใช้เพียงสารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย ไม่มีการใช้แรงดันหรืออุณหภูมิสูงในการผลิตและใช้งาน” Angela Belcher นักวิจัยวัสดุศาสตร์ มหาวิทยาลัย MIT เคมบริดจ์ สหรัฐอเมริกา ตัวแทนทีมวิจัย กล่าวแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใช้อยู่ทั่วไปนั้นจะเก็บและปล่อยพลังงานไฟฟ้าเมื่อไอออนของลิเทียมและอิเล็คตรอนเคลื่อนที่ระหว่าง electrode ขั้วลบกับขั้วบวก โดยทั่วไปแล้ว electrode ขั้วบวกนั้นจะทำจาก เหล็กฟอสเฟต ซึ่งมีความเสถียรสูง แต่นำไฟฟ้าได้ไม่ดีนัก เมื่อเหล็กฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับลิเทียม มันจะสามารถเก็บสะสมพลังงานไว้ได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นเมื่อมีการเคลื่อนที่ของไอออนและอิเล็คตรอนผ่านขั้วบวก การเคลื่อนที่จึงเป็นไปได้ช้า ทำให้ประสิทธิภาพในการปล่อยพลังงานลดน้อยลงไอออนและอิเล็คตรอนจะเคลื่อนที่ได้เร็วขึ้นเมื่อเคลื่อนที่ผ่านอณุภาคขนาดเล็ก การทำให้เหล็กฟอสเฟตอยู่ในรูปอณุภาคมีขนาดเล็กเพิ่อเพิ่มประสิทธิภาพนั้น จะต้องผ่านกระบวนการที่ยุ่งยากและมีราคาสูง ดังนั้น ทีมของ Belcher จึ้งตัดต่อพันธุกรรมของไวรัส M13 ให้ปกคลุมตัวเองด้วยเหล็กฟอสเฟต เพียงเท่านี้เราก็จะได้เหล็กฟอสเฟตขนาดจิ๋วจากไวรัสตัดต่อยีนที่สองอีกเสียหน่อยก็จะทำให้ด้านหนึ่งที่เหลือของไวรัสติดเข้ากับท่อนาโนคาร์บอนซึ่งนำไฟฟ้าได้ดี เท่านี้เราก็จะได้อณุภาคเหล็กฟอสเฟตที่เก็บสะสมพลังงานได้ดี แถมยังให้ไอออนกับอิเล็คตรอนเคลื่อนที่ได้ดีอีกด้วย“งานวิจัยครั้งนี้ถือเป็นการค้นพบที่น่าตื่นเต้นมาก” นักเคมีแบตเตอรี่ Kang Xu จากห้องแล็ปของกองทัพสหรัฐฯในAdelphi กล่าว “Belcher นับเป็นนักวิจัยคนแรกที่ใช้ต้นแบบทางชีววิทยาในการตัดต่อวัสดุเข้าด้วยกัน”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)