วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สุดยอดอาหารต้านปวด

แม้ปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงกันในหมู่นักวิจัยว่า อาหารบางชนิดสามารถบรรเท่าปวดได้จริงหรือ และแม้จะยังไม่มีหลักฐานยืนยันชัดเจน แต่ผู้เชียวชาญส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า การกินอาหารบางอย่างช่วยบรรเทาอาการปวดได้จริง ดูซิมีอะไรบ้าง
ถั่วเหลือง
เชื่อกันว่า ช่วยบรรเทาอาการปวดจากโรคข้อสื่อม การทดลองในชายและหญิงจำนวน 135 คนที่กินโปรตีนสกัดจากถั่วเหลืองวันละ 40 กรัมทุกวัน เป็นเวลา 3 เดือน ชี้ว่ากลุ่มตัวอย่างเคลื่อนไหวร่างกายได้ดีขึ้น ทั้งยังมีอาการปวดลดลง ซึ่งน่าจะเป็นเพราะสารไอโซฟลาโวน (Isoflavone) ในถั่วเหลืองมีประสิทธิภาพต่อต้านการอักเสบ
น้ำมันมะกอก
วิธีแสนง่ายในการบรรเทาปวดด้วยอาหารจากธรรมชาติคือ เหยาะน้ำมันมะกอกลงในอาหาร น้ำมันมะกอกมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวในโมเลกุลเดียวที่มีประโยชน์มหาศาลแถมยังประกอบไปด้วยสารโอลีโอแคนทัล (Oleocanthal) ที่มีสรรพคุณใกล้เคียงกับยาแก้อักเสบชนิดไม่มีสเตียรอยด์ (NSAIDS – non steroid anti-inflammatory drugs) สารตัวนี้จะไปยับยั้งการผลิตฮอร์โมนพรอสตาแกลนดินซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบและอาการปวด
เชอร์รี่
สารแอนโทไวยานิน (Anthocyanin) ซึ่งทำให้เวอรืรี่มีสีแดงเข้ม มีสรรพคุณในการต่อต้านการอักเสบไม่ต่างจากยาแอสไพริน
แม้ยังไม่มีการทดลองกับคนว่าต้องกินแค่ไหนจึงจะเห็นผล แต่ประโยชน์ต่อสุขภาพของเชอร์รี่ในด้านอื่นๆ เช่น ช่วยให้ห่างไกลโรคเบาหวานและลดกรดในกระเพราะทำให้ผลไม้นี้เหมาะจะเป็นหนึ่งในผลไม้โปรดของคุณ (สตอรอว์เบอร์รี่ก็มีสารชนิดนี้ แม้จะไม่มากเท่า)
โปรตีน
มีบทบาทในการเสริมสร้างเนื้อเยื่อที่แข็งแรง ซึ่งจะช่วยให้อาการปวดทุเลาลง
โปรตีนที่ดีควรมาจากเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน รวมไปถึงโปรตีนจากถั่วเหลืองอย่างเต้าหู้และนมถั่วเหลือง
แหล่งโปรตีนที่ดียังมาจากอาหารที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า – 3 อย่างปลาแซลมอน และปลาที่มีไขมันอื่นๆ เช่น ปลาซาร์ดีนและปลาทูน่า
องุ่น
เปลือกองุ่นมีสารเรสเวอราทรอล (Resveratrol) ซึ่งทราบกันทั่วไปว่า สามารถป้องกันอัดสเบของเซลล์ได้กีไม่แพ้ยาสมัยใหม่บางขนาน องุ่นจึงเป็นของว่างสุขภาพที่ไม่มีผลข้างเคียงเหมือนกินยา
ถั่วเปลือกแข็งและเมล็ดแห้งต่างๆ
เป็นแหล่งสำคัฯของทริปโตแฟน (Tryptophan) ช่วยลดปริมาณไวต่อการตอบสนอง ซึ่งเชื่อมโยงกับความรู้สึกเจ็บปวดสารนี้ยังช่วยต่อต้านอาการซึมเสร้าซึ่งพบมากในผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรัง
ดาร์กช็อกโกแลต
มีฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งเป็นทั้งสารแอนติออกซิแดนต์และสารต่อต้านการอักเสบ แต่เนื่องจากเป็นอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง จึงควรกินครั้งละชั้นเล็กๆ
4 กฏ ลดปวด – กินเพื่อสุขภาพ
1. เลี่ยงกรดไขมันโอเมก้า – 6 โรคไขข้ออักเสบ มะเร็ง และโรคหัวใจ ลวนมีที่มาจากอักเสบภายในร่างกาย การใส่ใจการกินสามารถป้องกันหรือบรรเทาอาการได้ อาหารสำเร็จรูปส่วนใหญ่มีกรดไขมันโอเมก้า – 6 สูง นอกจากนี้ลดการบริโภคน้ำมันดอกคำฝ้าย น้ำมันถั่วเหลืองน้ำมันเมล้ดฝ้าย และน้ำมันข้าวโพด ซึ่งมักเป็นส่วนประกอบในขนมขบเคี้ยว เนยเทียนและของทอด
2. เพิ่มเส้นใยอาหาร เส้นใยอาหารช่วยลดรีอีดทีฟโปรตีน (Reactive Protein) ในเลือด ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงโรคไขข้ออักเสบหรือโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ
แม้ปัจจุบันจะมีวิตามินเสริมใยอาหารแต่เส้นใยอาหารจากธรรมชาติซึ่งไม่ผ่านการปรับปรุงแต่งดีที่สุด เช่น ผัก ถั่วที่เป็นผัก ถั่วเมล็ดแห้ง และธัญพืชไม่ขัดสี
3. กินโลว์คาร์บให้ถูกหลัก คร์โบไฮเดรตที่คนส่วนใหญ่กินทุกวันนี้มักเป็นชนิดที่ผ่านการแปรรูปหลายขั้นตอน ทำให้เสี่ยงต่อการอักเสบและทำให้ปวดตามข้อต่อ
การศึกษาชื้นใหม่ยืนยันว่า อาหารโลว์คาร์บมีประสิทธิภาพลดการอักเสบได้ดีกว่าอาหารโลว์แฟต แต่ถ้าจะกินคาร์โบไฮเดรต ควรเลือกชนิดดี เช่น ผักใบเขียว ขนมปังโฮลวีต ข้าวช้อมมือ
4. บริโภคกรดไขมันดอเมก้า – 3 มีประโยชน์ต่อสุขภาพนานัปการ ที่สำคัญช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ ในร่างกาย พบมากในปลาที่มีไขมัน อย่างเช่น ปลาทูน่า นอกจากนี้พบใน น้ำมันคาโนลา และวอลนัท
อาหารที่กล่าวมานี้ไม่เพียงมีคุณประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ ยังมีรสชาติดีด้วย รู้อย่างนี้แล้ว อย่ารอช้าไปหามากินกันเถอะ

ภาษาสากลกับภาษาที่โลกลืม

ภาษาถือเป็นวัฒนธรรมของมนุษย์ที่เกิดขึ้นมาพร้อมกับการอุบัติขึ้นของมนุษย์ในโลกกลม ๆ ใบนี้ แต่น่าใจหายไม่น้อย เมื่อทราบว่าภาษาอีกหลายร้อยหลายพันภาษาที่อยู่คู่กับมนุษย์มายาวนาน กำลังจะถึงกาลอวสาน หาผู้สืบทอดต่อไปไม่ได้ ด้วยเหตุผลสำคัญหลายอย่าง ก่อนหน้านี้ อาจจะเคยได้ยินคนพูดภาษาอูดิฮี ในแถวไซบีเรีย, ภาษาอียัค ในดินแดนอลาสกา หรือภาาาอะริคาปู ในป่าดงดิบแถบอเมซอน นับจากนี้ต่อไปอีกไม่นานนัก เราอาจจะไม่ได้ยินภาษาเหล่านี้แล้วก็ได้
ในจำนวนภาษาที่มนุษย์ใช้อยู่ทั่วโลกเวลานี้ มีถึง 6,800 ภาษา แต่แทบไม่น่าเชื่อว่าภาษาเหล่านี้กว่าครึ่งหนึ่ง ถึงร้อยละ 90 อาจจะอันตรธานหาบสาปสูญไปจากโลกมนุษย์ภายใน100 ปีนี้ ทำไมถึงเป็นเช่นนี้? "สถาบันเวิลด์วอตช์" องค์กรเอกชนที่เฝ้าติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก นำข้อมูลที่ได้ศึกษามาเปิดเผยต่อสาธารณชนว่า เหตุผลหนึ่งก็คือว่า กว่าครึ่งหนึ่งของภาษาที่ใช้กันทั่วโลก แต่ละภาษามีคนพูดน้อยกว่า 2,500 คน ซึ่งถือว่าน้อยเหลือเกิน และหนักหนาสาหัสมากที่จะธำรงรักษาให้ภาษาคงอยู่ต่อไปนี้
ด้านองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติหรือยูเนสโกระบุว่า การสืบทอดภาษาให้คงอยู่ต่อไปจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่อีกคนอีกรุ่นหนึ่งนั้นจำเป็นต้องมีคนพูดภาษานั้น ๆ ได้อย่างน้อย 100,000 คนขึ้นไป
สำหรับ 10 ภาษาที่กลายเป็นภาษาสากลยอดนิยมที่มีจำนวนผู้พูดมากที่สุดในโลกนั้น ประกอบด้วย ภาษาจีนกลาง มีผู้พูดมากที่สุด 885 ล้านคน ภาษาสเปน 332 ล้านคน, ภาษาอังกฤษ 322 ล้านคน, ภาษาอารบิค 220 ล้านคน, ภาษาเบงกาลี 189 ล้านคน, ภาษาฮินดี 182 ล้านคน, ภาษาโปรตุเกส 170 ล้านคน, ภาษารัสเซีย 170 ล้านคน, ภาษาญี่ปุ่น 125 ล้านคน และภาษาเยอรมัน 98 ล้านคน
ในขณะที่ภาษาไทยของเรานั้น แน่นอนอยู่แล้วว่า 62 ล้านคนในประเทศไทย ต้องพูดภาษาไทย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่แสดงถึงวัฒนธรรม ประเพณี และความเป็นไทยอยู่แล้วและต้องไม่ลืมว่า เรายังมีคนไทยที่ไปอาศัยอยู่ในต่างแดน ซึ่งพวกเขาเหล่านั้นก็ยังอนุรักษ์และใช้ภาษาไทยเป็นภาษาประจำชาติ นอกจากนั้นแล้ววิชาภาษาไทย ยังถูกบรรจุอยู่ในวิชาภาษาต่างประเทศของการศึกษาในระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในต่างประเทศบางประเทศด้วย ซึ่งเราควรจะภาคภูมิใจในภาษาไทยของเรา
ย้อนกลับมาที่ภาษาที่โลกลืมกันต่อ สงครามและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์มนุษย์ การยึดครองและภัยธรรมชาติรุนแรง กล่าวได้ว่าเป็นสาเหตุหลักของการทำลายล้างภาษาให้สิ้นไปจากโลก เพราะมนุษย์จะเสียชีวิตไปเพราะสาเหตุเหล่านี้เป็นจำนวนมหาศาล พร้อม ๆ กับภาษาที่พวกเขาใช้ด้วย
เวิลด์วอตช์ระบุว่า ขณะนี้ มีคนพูดภาษาอูดิฮี ได้แค่ 100 คน ส่วนภาษาอะริคาปู มีคนพูดได้น้อยยิ่งกว่า เพียง 6 คนเท่านั้น แต่ที่น่าตกใจที่สุดเห็นจะเป็นภาษาอียัค ที่มีคนพูดได้เพียงคนเดียวในโลก คือคุณยายมารี สมิธ วัย 83 ปี อาศัยอยู่ในเมืองอันโชเรจ รัฐอลาสกา เธอคือคนสุดท้ายที่พูดภาษานี้ได้ และอีกไม่ถึง 10 ปีข้างหน้าภาษาอียัค ก็จะสูญสิ้นไปพร้อมกับการจากไปอย่างไม่มีวันกลับของคุณยายวัยดึกผู้นี้
ดูแล้ว ภาษาอียัค น่าจะเป็นภาษาต่อไปที่สูญหายจากโลก คงเหลือแต่เพียงประวัติศาสตร์ที่บันทึกไว้ในหนังสือว่าครั้งหนึ่งยังมีภาษานี้ใช้ในโลกมนุษย์ ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้รับทราบกันเพียงเท่านั้น
คงจะยังจดจำกันได้เป็นอย่างดีกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งรุนแรงที่สุดที่เกิดขึ้นในอินเดียในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ต้อนรับปีใหม่ของปี 2544 โดยได้เกิดเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงขึ้นในภาคตะวันตกของอินเดีย ทำให้มีประชาชนที่พูดภาษากุดจี ตายเป็นเบือ ประมาณ 30,000 คน เหลือผู้พูดภาษานี้จริง ๆ เพียง 770,000 คน เท่านั้น นับว่าเป็นเหตุการณ์วิปโยคที่นอกจากจะสร้างความเสียหายในด้านเศรษฐกิจแล้ว คงไม่มีใครคิดว่าจะส่งผลกระทบอย่างร้ายกาจต่อมรดกวัฒนธรรมของประชาชนในพื้นที่ด้วย
สถานการณ์ใกล้ "สูญพันธุ์" เริ่มเห็นราง ๆ แล้วสำหรับภาษากุดจี หากคน 770,000 คน ไม่ช่วยกันอุ้มชูรักษาไว้ ก็น่าจะสาปสูญไปเช่นกัน ตัวอย่างนี้น่าจะเห็นชัดว่า ภัยธรรมชาติเป็นอันตรายเพียงใดต่อวัฒนธรรมของมนุษย์
สำหรับ 8 ประเภทที่มีภาษาใช้อย่างดาษดื่นมากที่สุด ประกอบด้วย ปาปัวนิวกินี มี 832 ภาษา, อินโดนีเซีย 731 ภาษา, ไนจีเรีย 515 ภาษา, อินเดีย 400 ภาษา, เม็กซิโก แคเมอรูน และออสเตรเลีย มีประเทศละ 300 ภาษา และบราซิลมี 234 ภาษา โดยอินเดียนั้น มีภาษาราชการใช้ถึง 15 ภาษา มากกว่าประเทศอื่นใดทั้งหมด
การสูญสิ้นไปของภาษาพูดไม่ใช่เป็นของใหม่ที่เพิ่งจะเกิดขึ้น แต่เชื่อว่ามีภาษานับพันภาษาได้หาบสาปสูญไปก่อนหน้านี้แล้ว
บรรดานักภาษาศาสตร์เชื่อกันว่า ภาษาพูดของมนุษย์ 3,400 - 6,120 ภาษา อาจจะสูญหายภายในปี 2643 หรืออีกประมาณ 100 ปีข้างหน้า ซึ่งก็เท่ากับจะมีภาษาพูดสูญหายไป 1 ภาษาในทุก 2 สัปดาห์
อย่างไรก็ตาม นับว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะมีหลายภาษากำลังง่อนแง่นใกล้สูญไป แต่ยังมี 2 - 3 ภาษา ซึ่งก็รวมทั้งภาษาจีน, กรีก และฮิบรู อันเป็นภาษาโบราณที่ใช้กันมามากกว่า 2,000 ปี กำลังจะฟื้นคืนชีพรอดพ้นจากการสูญหายไป เนื่องจากมีผู้คนหันกลับมาพูดภาษาเหล่านั้นแล้วอย่างน่ายินดี
แม้ว่าภาษาบางภาษากำลังใกล้ถึง "จุดจบ" แต่ก็ใช่ว่า เจ้าของภาษาจะไม่ดิ้นรนขวนขวายเพื่อรักษาภาษาพูดของเขาไว้ชั่วลูกชั่วหลานต่อไป ในปี 2526 ชาวฮาวายได้จัดตั้งองค์กร "อะฮา ปูนานา ลีโอ" ขึ้นเพื่อพลิกฟื้นกอบกู้ภาษาพื้นเมืองของพวกเขาที่เคยใช้กันอยู่ทั่วไปบนเกาะฮาวายแห่งนี้ โดยจัดให้มีการเรียนการสอนในโรงเรียนของรัฐด้วย ว่ากันตามความเป็๋นจริงแล้ว ภาษาพื้นเมืองของชาวฮาวายก็เกือบเอาตัวไม่รอดแล้วเช่นกัน เมื่อรัฐบาลสหรัฐฯสั่งห้ามไม่ให้สอนภาษานี้แก่เด็กนักเรียนในโรงเรียนบนเกาะฮาวายมาตั้งปี 2441 แล้ว
องค์กร "อะฮา ปูนานา ลีโอ" ซึ่งหมายถึง "เครือข่ายภาษา" ได้รื้อฟื้นเปิดสอนภาษาพื้นเมืองฮาวายในโรงเรียนอนุบาลในปี 2527 หลังจากที่สอนในโรงเรียนมัธยม จนสามารถผลิตนักเรียนรุ่นแรกที่จบหลักสูตรภาษานี้ในปี 2542 จนถึงขณะนี้ เป็นที่น่ายินดีอย่างมากว่า มีชาวฮาวายประมาณ 7,000 - 10,000 คน สามารถพูดภาษาพื้นเมืองนี้ได้ จากเดิมที่มีอยู่ไม่ถึง 1,000 คนเมื่อปี 2526 ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จมากทีเดียวสำหรับโครงการชุบชีวิตของภาษานี้ และน่าจะถือเป็นแบบอย่างได้สำหรับภาษาที่กำลังใกล้สูญหาย เพราะทำได้ในลักษณะเดียวกันนี้ก็ถือว่ายังไม่สายเกินแก้

โรคติดเน็ตคุณเป็นหรือเปล่า

อินเตอร์เน็ตเป็นเทคโนโลยีอย่างหนึ่ง ซึ่งก็เช่นเดียวกับเทคโนโลยีอื่นที่มนุษย์ประดิษฐ์คิดค้นขึ้น คือมีทั้งข้อดีและข้อเสีย นอกเหนือไปจากเรื่องไม่ดีไม่งามต่าง ๆ ที่หลั่งไหลมากับสื่อชนิดนี้ ไม่ว่าจะเป็นภาพลามกอนาจาร ไวรัส การพนัน หรืออะไรร้าย ๆ ทำนองนี้แล้ว แม้แต่คนเล่นเว็บที่เลือกชมแต่สิ่งดี ๆ ก็อาจจะมีปัญหาได้เหมือนกัน
เนื่องจากในสังคมอเมริกันมีคนใช้อินเตอร์เน็ตเป็นจำนวนมาก และนับวันก็จะเพิ่มขึ้น ดังนั้น เขาจึงเกิดความเป็นห่วงกันว่า เทคโนโลยีใหม่นี้จะส่งผลกระทบอะไรต่อสภาพจิตใจคนบ้างหรือเปล่า ดังนั้นนาย David Greenfield นักวิจัยและนักจิตบำบัด จึงได้ร่วมกับสำนักข่าว ABC News ทำการสำรวจความรู้สึกและสภาพจิตใจของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตจำนวนมากถึง 17,251 ราย ผ่านทางเว็บไซท์ www.abcnews.com ซึ่งถือเป็นการศึกษากลุ่มผู้ใช้อินเตอร์เน็ตครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยทำกันมา และได้นำเสนอผลงาน ครั้งนี้ในที่ประชุมประจำปีของสมาคมจิตเวชอเมริกัน (American Psychological Association) เมื่อเดือนสิงหาคม (2542) ที่ผ่านมานี้เอง
ผลการศึกษาครั้งนี้ดูเหมือนจะสนับสนุนแนวความคิดที่กำลังเป็นที่ยอมรับกันมากขึ้นว่า ความอยากใช้อินเตอร์เน็ตอย่างไม่อาจหักห้ามใจตัวเอง หรือเราอาจเรียกว่า "โรคติดเน็ต" นั้น เป็นปัญหาทางจิตอย่างหนึ่ง และเป็นปัญหาที่มีอยู่จริง
แบบสอบถามที่ใช้ในการสำรวจครั้งนี้ Greenfield ปรับปรุงมาจากแบบสอบถามที่ใช้กับผู้ติดการพนัน ซึ่งถ้าผู้ถูกสำรวจตอบ "ใช่" มากกว่า 5 ข้อจากเกณฑ์ 10 ข้อ ก็จะถูกประเมินว่ามีอาการติดอินเตอร์เน็ต ปรากฏว่ามีผู้อยู่ในเกณฑ์นี้ 990 รายจากผู้ตอบทั้งหมด หรือ ประมาณ 5.7 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถ้าคิดว่าประชากรที่ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกมีประมาณ 200 ล้านราย ก็หมายความว่าอาจจะมีผู้ติดเน็ตถึง 11.4 ล้านคนทีเดียว
Greenfield กล่าวว่า "ในฐานะนักบำบัด ผมพบผู้ป่วยทั้งประเภทที่ครอบครัวแตกแยก, เด็ก ๆ มีปัญหา, พวกที่ทำผิดกฏหมาย และ พวกที่กำลังใช้เงินมากเกินไป
อย่างไรก็ดีจำนวน 5.7 เปอร์เซ็นต์ที่มีปัญหานั้น ก็จัดว่ายังน้อยเมื่อเทียบกับการคาดการณ์ก่อนหน้านี้ ที่คิดว่ามีประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่า ซึ่งเป็นผลมาจากการสำรวจของนักเรียนระดับวิทยาลัย นอกจากนี้การสำรวจยังทำผ่านเว็บไซท์เพียงแห่งเดียว และแบบสอบถาม ยังอยู่ติดกับหัวข้อข่าวเรื่องการติดอินเทอร์เน็ตด้วย ดังนั้นผู้ที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่จึงอาจมีแนวโน้มของอาการนี้อยู่แล้วก็ได้ ซึ่งจะทำให้ผลสำรวจเบี่ยงเบนไปบ้าง
สำหรับผลสรุปอื่น ๆ ที่น่าสนใจจากการสำรวจครั้งนี้ก็เช่น
1 ใน 4 บองนักเล่นเว็บยอมรับว่าใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อบรรเทาความรู้สึกตกต่ำ, สิ้นหวัง, สำนึกผิด และความกลุ้มใจ
1 ใน 7 ยอมรับว่ามีความรู้สึกหมกมุ่นถึงอินเตอร์เน็ตระหว่างที่ไม่ได้เล่น
1 ใน 7 เช่นกัน บอกว่าเคยพยายามจำกัดการใช้ แต่ล้มเหลว
1 ใน 14 มีความรู้สึกกระวนกระวายและหงุดหงิดเมื่อพยายามจะลดการเล่น
1 ใน 25 ตอบว่าตนสูญเสียงาน โอกาสทางวิชาชีพ หรือความสัมพันธ์ที่สำคัญเพราะนิสัยการเล่นอินเตอร์เน็ต