วันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ไวน์










ไวน์ (อังกฤษ: wine; ฝรั่งเศส: vin) คือ เมรัยอันผลิตจากน้ำองุ่น[ต้องการอ้างอิง] แต่ก็อาจใช้กับเครื่องดื่มที่ทำจากน้ำผลไม้อื่นเช่นกัน

ไวน์ เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเกิดจากการหมักน้ำตาลในองุ่น แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ ไวน์ขาว (White wine) หรือ (vin blanc) และ ไวน์แดง (Red wine) หรือ (vin rouge) ไวน์ที่ได้จากการผสมระหว่างไวน์ 2 ชนิดเรียกว่า ไวน์สีชมพู (Rosé หรือว่า Pink wine) [ rosé แปลว่าสีชมพู ถ้าใช้กับ wine เรียกว่า rosé ไปเลยไม่ต้องเรียก vin rosé] ส่วนไวน์ที่มีการอัดก๊าซลงไป จะเรียกว่า สปาร์กลิงไวน์ (Sparkling wine) สปาร์กลิงไวน์ที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ แชมเปญ (Champagne)

ประวัติ

ภาพวาดเกี่ยวกับไวน์ Tacuina sanitatis คริสต์ศตวรรษ 14เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าไวน์เป็นเครื่องดื่มที่มีมาหลายร้อยปีแล้ว มีการค้นพบโถโบราณบรรจุเมล็ดองุ่นไร่ซึ่งมีอายุนับเนื่องขึ้นไปกว่า 8,000 ปี ก่อนคริสตกาล

นอกจากที่ประเทศอิหร่านแล้ว ยังมีการพบร่องรอยของเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่ได้จากกรรมวิธีการหมักแบบเดียวกับไวน์ในสมัย 7,000 ปีก่อนคริสตกาล ทางตอนเหนือของประเทศจีน

ในยุคอียิปต์โบราณ การเพาะปลูกองุ่นเพื่อทำไวน์มีการดำเนินการอย่างเป็นระบบระเบียบมาก เทพต่าง ๆ ในตำนานเทพปกรณัม ทั้งโอซิริสของอียิปต์ เทพไดโอนีซุสของกรีก บัคคัสของโรมัน หรือกิลกาเมชของบาบิโลน ล้วนแล้วแต่เป็นเทพแห่งไวน์ นอกจากนั้น ไวน์ยังเป็นสัญลักษณ์ของพระโลหิตของพระเยซูเจ้าตามความเชื่อทางศาสนาคริสต์ ไวน์มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงเป็นอันมากในช่วงสองร้อยปีหลัง ชาวโรมันในสมัยก่อนนั้นดื่มไวน์ที่มีรสฉุนจนต้องผสมน้ำทะเลก่อนดื่ม รสชาติของไวน์ดังกล่าวแตกต่างจากไวน์ในปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง

ในสมัยศตวรรษที่ 19 ไวน์ถือว่าเป็นเครื่องดื่มบำรุงกำลัง โดยคนงานที่รับจ้างเก็บเกี่ยวพืชผลจะดื่มไวน์ถึงวันละ 6-8 ลิตร และนายจ้างจะจ่ายไวน์ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าแรง เพราะสมัยนั้นน้ำยังไม่ค่อยสะอาดพอที่จะนำมาดื่มได้

ส่วนประกอบของไวน์
ส่วนประกอบส่วนใหญ่ของไวน์คือแอลกอฮอล์ที่ละลายในน้ำ และส่วนผสมทางเคมีอื่น ๆ อีกมากมายไม่ว่าจะเป็นสารระเหยและสารไม่ระเหย ทั้งสารละลายและสารแขวนลอย ปกติแล้ว ปริมาณของแอลกอฮอล์จะอยู่ระหว่าง 9-15 เปอร์เซ็นต์ต่อปริมาณน้ำ 85 เปอร์เซ็นต์

แอลกอฮอล์ในไวน์ส่วนใหญ่เป็นเอทิลแอลกอฮอล์ และยังพบตัวทำละลายประเภทกลีเซอรอล ซอร์บิทอล และบูตีแลนกลีคอลด้วย

นอกจากนั้น ไวน์ยังประกอบด้วย

น้ำตาลชนิดต่าง ๆ ทั้งกลูโคส ฟรุคโตส ในปริมาณที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่ 1-2 กรัมต่อลิตร ในดรายไวน์ที่หมักจนน้ำตาลกลายเป็นแอลกอฮอล์แล้ว จนถึง 50-60 กรัมต่อลิตร ในไวน์หวานที่กระบวนการหมักบ่มยังไม่สมบูรณ์
กรดต่าง ๆ ทั้งกรดมาลิก กรดซิตตริก กรดทาทาริก กรดอะซีติก กรดแลกติก กรดซัคซินิก
ส่วนผสมอื่น ๆ เช่น แทนนิน แอนโทซีอัน
รงควัตถุ (pigment) ต่างๆ เช่น แอนโทไซยานิน

พื้นที่
คำว่า "กรู" (ฝรั่งเศส: cru) หมายถึงไวน์เฉพาะถิ่นที่ผลิตในพื้นที่ซึ่งกำหนดไว้ โดยพื้นที่แต่ละแห่งจะมีลักษณะแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม สภาพพื้นดิน สภาพอากาศ ซึ่งทำให้องุ่นที่ปลูกในพื้นที่นั้นๆ ให้รสชาติและลักษณะไวน์ที่เป็นลักษณะเฉพาะและเป็นที่รู้จักเพิ่มขึ้น ไวน์ของผู้ผลิตในประเทศต่าง ๆ (ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้ ชิลี แคลิฟอร์เนีย - สหรัฐอเมริกา) สร้างความหลากหลายให้กับรสชาติไวน์ตามลักษณะของพื้นที่ผลิต (แสงแดด ความชื้น คุณภาพดิน)

ในฝรั่งเศส พื้นที่ผลิตมักจะสัมพันธุ์กับพันธุ์องุ่น โดยในพื้นที่หนึ่ง ๆ อาจจะปลูกองุ่นเพียงพันธุ์เดียว หรือหลายพันธุ์เป็นการเฉพาะ ตัวอย่างเช่น ไวน์มาดีรอง (ฝรั่งเศส: madiran) จากแถบเทือกเขาพีเรนีส จะทำจากองุ่นพันธุ์ตานา (ฝรั่งเศส: tannat) เท่านั้น

ผู้ผลิตจะตั้งชื่อไวน์ตามชื่อพื้นที่สำหรับไวน์บูร์กอญ (ฝรั่งเศส: Bourgogne) หรือเรียกในภาษาอังกฤษว่าเบอร์กันดี (อังกฤษ: Burgundy) ส่วนไวน์บอร์โด (ฝรั่งเศส: Bordeaux) ตั้งตามชื่อปราสาท (ฝรั่งเศส: châteaux - ชาโต)

ปีที่ผลิต (ฝรั่งเศส: Millésime / อังกฤษ: Vintage)
ปีที่ผลิต คือ ปีที่มีการเก็บองุ่นซึ่งนำมาใช้ทำไวน์นั้น ๆ เป็นตัวบ่งบอกถึงลักษณะอากาศในปีต่าง ๆ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของคุณภาพไวน์ โดยปกติผู้ผลิตจะเขียนชื่อปีที่ผลิตไว้บนฉลาก กฎหมายของสหภาพยุโรปไม่ได้กำหนดให้แจ้งปีที่เก็บเกี่ยวองุ่นที่ใช้ทำไวน์แต่อย่างใด

ชนิดของไวน์

ไวน์แดง
ตัวอย่างไวน์แดงที่ได้รับความนิยม

-บาโรโล (Barolo) - อิตาลี
-บรูเนลโลดีมอนตัลชีโน (Brunello di Montalcino) - อิตาลี
-โบโชเล (Beaujolais) - ฝรั่งเศส
-บอร์โด (Bordeaux) - ฝรั่งเศส
-บูร์กอญ (Bourgogne) หรือบูร์กันดี (Burgundy) - ฝรั่งเศส
-กาแบร์เนโซวีญง (Cabernet Sauvignon) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย ออสเตรเลีย มอลโดวา แอฟริกาใต้
-การ์เมเนเร (Carmenere) - ชิลี
-กีอันตี (Chianti) - อิตาลี
-แมร์โล (Merlot) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย วอชิงตัน ชิลี แอฟริกาใต้
-ปีโนนัวร์ (Pinot Noir) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย ออริกอน แอฟริกาใต้
-พิโนเทจ (Pinotage) - แอฟริกาใต้
-เรียวคา (Rioja) - สเปน
-ซีรา/ชีรัซ (Syrah/Shiraz) - ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย แคลิฟอร์เนีย แอฟริกาใต้
-วัลโปลีเชลลา (Valpolicella) - อิตาลี
-ซินฟันเดล (Zinfandel) - แคลิฟอร์เนีย

ไวน์ขาว (White wine)

ผลิตจากองุ่นขาวหรือองุ่นแดงแต่เอาเฉพาะน้ำองุ่น แบ่งออกเป็นหลายชนิด
..ไวน์ขาวอ่อน (Vin Blanc Tranquille or Doux)
..ไวน์ขาวแห้ง (Vin Blanc Sec or Demi-sec)
..ไวน์ขาวหวาน (VDN, Porto, Xeres)
..ไวน์ขาวอัดก๊าซ (Champagne, Vouvrey)
..ลิเกอร์จากองุ่นขาว (Cognac, Armagnac, Pineau)

ตัวอย่างไวน์ขาวที่ได้รับความนิยม

-ชาร์ดอเน (Chardonnay) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย ออสเตรเลีย แอฟริกาใต้
-ชาบลี (Chablis) - ฝรั่งเศส
-เชอแนงบล็อง (Chenin Blanc) - แอฟริกาใต้ ฝรั่งเศส
-ฟรัสกาตี (Frascati) - อิตาลี
-เกเวือร์ซทรามีเนอร์ (Gewürztraminer) - ฝรั่งเศส เยอรมนี แอฟริกาใต้
-ลีบเฟรามิลค์ (Liebfraumilch) - เยอรมนี
-ออร์วีเอโต (Orvieto) - อิตาลี
-ปีโนกรี/ปีนอตกรีโจ (Pinot Gris/Pinot Grigio) - ฝรั่งเศส อิตาลี ออริกอน
-ปุยยี-ฟุยเซ (Pouilly-Fuissé) - ฝรั่งเศส
-รีสลิง (Riesling) – ฝรั่งเศส เยอรมนี
-โซวีญงบล็อง (Sauvignon Blanc) - ฝรั่งเศส แคลิฟอร์เนีย นิวซีแลนด์ แอฟริกาใต้
-เซมียง (Sémillon) - แอฟริกาใต้
-โซอาเว (Soave) - อิตาลี
-แวร์ดิกกีโอเดย์กัสเตลลีดีเจซี (Verdicchio dei castelli di Jesi) - อิตาลี
-สปาร์กลิงไวน์ (Sparkling wine)
เป็นไวน์ชนิดมีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อัดอยู่

ตัวอย่างสปาร์กลิงไวน์ที่ได้รับความนิยม

-อัสตีสปูมันเต (Asti spumante) - อิตาลี
-กาบา (Cava) - สเปน
-แชมเปญ/ชองปาญ (Champagne) - ฝรั่งเศส สปาร์กลิงไวน์ที่ผลิตขึ้นที่แคว้นนี้เท่านั้นจึงจะได้รับอนุญาตให้ใช้ชื่อว่า แชมเปญ
-ฟรันชากอร์ตา (Franciacorta) - อิตาลี
-โปรเซกโก (Prosecco) - อิตาลี
-เซคท์ (Sekt) - เยอรมัน
-สปาร์กลิงไวน์ (Sparkling wine) – แคลิฟอร์เนีย ออริกอน วอชิงตัน นิวเม็กซิโก
ไวน์สีกุหลาบ (rosé)

-บูซุยโออาตซะเดโบโฮติน (Busuioacă de Bohotin) : โรมาเนีย
-ลาเกรนโรซาโต (Lagrein Rosato) : อิตาลี
-โรเซ (Rosé) : ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส โปรตุเกส แอฟริกาใต้ สเปน สหรัฐอเมริกา

Mona Lisa



โมนาลิซา (อังกฤษ: Mona Lisa) หรือ ลาโชกงด์ (ฝรั่งเศส: La Gioconda, La Joconde) คือภาพวาดสีน้ำมัน สูง 77 เซนติเมตร กว้าง 53 เซนติเมตร วาดโดยเลโอนาร์โด ดา วินชี ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ระหว่าง พ.ศ. 2046 (ค.ศ. 1503) ถึงปี พ.ศ. 2050 (ค.ศ. 1507) เป็นภาพที่ทั่วโลกรู้จักกันดีภาพหนึ่ง ในฐานะสุภาพสตรีที่มี รอยยิ้มอันเป็นปริศนา ที่ไม่รู้ว่าเธอจะยิ้ม หัวเราะ หรือร้องไห้กันแน่ ปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของรัฐบาลฝรั่งเศส และเก็บรักษาอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ (Musée du Louvre) กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส


ที่มาของชื่อ
คำว่า'โมนาลิซา" นั้น ได้ถูกตั้งขึ้นโดย จอร์โจ วาซารี (Giorgio Vasari) ศิลปิน และนักชีวประวัติชาวอิตาลี หลังจากดา วินชีได้เสียชีวิตไป 31 ปี ในหนังสือที่เขาตีพิมพ์นั้นได้บอกไว้ว่าผู้ที่นั่งอยู่ในรูปนั้นคือ ลีซา เกอราร์ดีนี ภรรยาของขุนนางนักธุรกิจผู้มั่งคั่ง ชาวเมืองฟลอเรนซ์นามว่า ฟรานเชสโก เดล โจกอนโด (Francesco del Giocondo)

คำว่า โมนา" (Mona) ในภาษาอิตาลีนั้นก็คือคำว่า มาดอนนา (madonna) คุณผู้หญิง (my lady) หรือ มาดาม (Madam) ในภาษาอังกฤษ ดังนั้นความหมายของชื่อนั้นก็คือ "มาดาม ลิซา" แต่ในปัจจุบัน บางครั้งก็จะใช้คำว่า มอนนา ลิซา (Monna Lisa)

ประวัติ
ภาพโมนาลิซ่านี้ถูกวาดโดย ดา วินชี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2046 ถึง พ.ศ. 2050 ใช้เวลานานถึง 4 ปีในการวาด

ในปี ค.ศ. 1516 (พ.ศ. 2059) ดา วินชีได้นำภาพจากอิตาลีไปที่ฝรั่งเศส ด้วยพระราชประสงค์ของพระเจ้าฟรองซัวส์ที่ 1 ที่ทรงปรารถนาที่จะให้ศิลปินทั้งหลายมารวมตัวทำงานกันที่ Clos Lucé ใกล้กับปราสาทในเมืองอัมบัวส์ และยังทรงให้ ดา วินชี วาดพระบรมฉายาลักษณ์ของพระองค์อีกด้วย หลังจากนั้นพระองค์ก็ทรงซื้อภาพโมนาลิซ่า ในราคา 4,000 เอกือ

ในปี ค.ศ. 1519 (พ.ศ. 2062) ดา วินชี ได้เสียชีวิตที่เมืองอัมบัวส์ ประเทศฝรั่งเศส รวมอายุได้ 63 ปี


ใบหน้าของมาดามลิซ่าตอนนที่ ดา วินชี เสียชีวิตแล้วได้ยกสมบัติและภาพวาดทั้งหมดให้เป็นมรดกของผู้ติดตามของเขา ฟรานเซสโก เมลซิ (Francesco melci) และเมื่อฟรานเซสโก เมลซิ เสียชีวิตลงก็ไม่ได้ยกมรดกให้ใคร มรดกก็เริ่มกระจัดกระจาย

และต่อมาภาพโมนาลิซ่าถูกนำไปเก็บไว้ที่ พระราชวังฟงเตนโบล ต่อมาก็ในพระราชวังแวร์ซาย หลังจากสิ้นสุดการปฏิวัติฝรั่งเศส ก็ถูกไปนำเก็บไว้ที่พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ ในห้องสรงของพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ในพระราชวังตุยเลอรี แล้วในที่สุดก็ได้กลับมาที่พิพิธภัณฑ์เหมือนเดิม


ห้องแสดงในพิพิธภัณฑ์ในช่วงสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย ระหว่างปี พ.ศ. 2413 - 2414 ภาพได้ถูกนำออกจากพิพิธภัณฑ์ ไปซ่อนไว้ในที่ลับในประเทศฝรั่งเศส

เมื่อวันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2454 (ค.ศ. 1911) ภาพโมนาลิซ่าถูกโจรกรรมออกจากพิพิธภัณฑ์ ซึ่งกว่าจะค้นพบเธอก็ได้ใช้เวลาไปถึง 2 ปี ซึ่งได้พบในเมืองฟรอเรนซ์ ประเทศอิตาลี ปัจจุบันเธอถูกดูแลรักษาอย่างดี ในตู้กระจกปรับอากาศกันกระสุน พิพิธภัณฑ์ลูฟร์ อันเป็นเครื่องหมายสากลว่า โมนา ลิซา จะไม่มีวันที่จะได้เคลื่อนย้ายไปแสดงที่ไหนอีกเป็นเด็ดขาด

ทฤษฎีสมทบ
กล่าวกันว่าภาพวาดนี้ ดา วินซี ตั้งใจจะวาดภาพของตนเองเพื่อเป็นหญิง และภาพวาดชิ้นนี้เมื่อส่องกับกระจกเงา จะพบว่ามุมการมองภาพรู้สึกเป็นธรรมชาติไม่แตกต่างจากการมองแบบปกติ เหมือนที่ ดา วินชี กล่าวไว้ว่า "ภาพเขียนที่จิตรกรจะคิดว่าสวยงามในทุกๆด้านและทุกๆมุมมอง ต้องพิจารณาภาพภาพในกระจกเงา" และจากการฉายรังสีที่ภาพวาด ทำให้พบว่าภาพเขียนนี้ถูกซ่อนเจตนาที่แท้จริงหลายอย่าง และยังเคยถูกเขียนทับอีกด้วย

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

แฝดสยาม อิน-จัน


อิน-จัน เป็นชื่อของฝาแฝดสยาม ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลก โดยเป็นที่มาของคำว่า "แฝดสยาม" ฝาแฝดอิน-จัน เป็นฝาแฝดที่มีตัวติดกันทางส่วนหน้าอก (โดยบันทึกของชาวตะวันตกบอกว่า เนื้อที่เชื่อมกันระหว่างอกนี้สามารถยืดได้จนทั้งคู่สามารถหันหลังชนกันได้) เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2354 ตรงกับรัชสมัยรัชกาลที่ 2 ในครอบครัวคนไทยเชื้อสายจีน ที่จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีบิดาเป็นชาวจีนอพยพแต่ครั้งรัชกาลที่ 1 ชื่อ นายที มารดาเป็นคนไทยชื่อ นางนาก (บันทึกของชาวตะวันตกเรียกว่า นก (Nok)) ซึ่งฝาแฝดคู่นี้สามารถเติบโตและใช้ชีวิตได้เหมือนคนปกติ แตกต่างไปจากแฝดติดกันคู่อื่น ๆ ที่มักเสียชีวิตหลังคลอดได้ไม่นาน ตามกฎหมายในเวลานั้น ทั้งคู่ต้องถูกประหารชีวิตเนื่องจากความเชื่อที่ว่าเป็นตัวกาลกิณี แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็หาได้มีเหตุการณ์ใด ๆ ตามความเชื่อไม่ โทษนั้นจึงได้รับการยกเลิก

เมื่อทั้งคู่อายุได้แค่ 2 ขวบ บิดาก็เสียชีวิตลงด้วยอหิวาตกโรค ภาระจึงตกอยู่ที่มารดาแต่เพียงผู้เดียว แฝดทั้งคู่จึงช่วยเหลือมารดาเท่าที่เด็กในวัยเดียวกันจะทำได้ เช่น จับปลา ขายน้ำมันมะพร้าว และทำไข่เค็มขาย จนในปี พ.ศ. 2367 ความพิเศษของเด็กทั้งคู่ทราบไปถึงพระกรรณของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงพระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้นางนากและอิน-จันเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท แล้วในปี พ.ศ. 2370 ก็มีพระบรมราชานุญาตให้อิน-จันได้เดินทางร่วมไปกับคณะทูตเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับประเทศโคชินไชน่า (เวียดนามในปัจจุบัน)

ในปี พ.ศ. 2367 นายโรเบิร์ต ฮันเตอร์ พ่อค้าชาวอังกฤษ หรือที่คนไทยสมัยนั้นเรียกว่า "นายหันแตร" ได้นั่งเรือผ่านแม่น้ำแม่กลอง และได้พบแฝดคู่นี้กำลังว่ายน้ำเล่นอยู่ ด้วยความประหลาดและน่าสนใจ นายฮันเตอร์จึงคิดที่จะนำฝาแฝดคู่นี้ไปแสดงโชว์ตัวที่สหรัฐอเมริกา จึงเข้าทำความสนิทสนมกับครอบครัวของฝาแฝดอยู่นานนับปี จนพ่อแม่ของทั้งคู่ไว้วางใจ ในที่สุดนายอาเบล คอฟฟิน กัปตันเรือสินค้า เดอะ ชาเคม (The Sachem) ซึ่งขณะนั้นได้เข้ามาทำการค้าในประเทศไทย ก็เป็นผู้นำตัวคู่แฝดออกเดินทางจากประเทศไทยเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2372 ขณะนั้นอิน-จัน อายุได้ 18 ปี โดยใช้เวลาเดินทางทั้งหมด 138 วัน จึงถึงเมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซตส์ และที่นี่เองที่คู่แฝดได้ทำการเปิดตัว ก่อนจะออกเดินทางแสดงทั่วอเมริกาและยุโรปอีกร่วม 10 ปี (เอกสารบางฉบับบอกว่า ไม่ได้เริ่มที่บอสตัน แต่ไปตั้งหลักที่รัฐแคลิฟอร์เนีย) โดยสัญญาที่ทำไว้กับนายฮันเตอร์และนายคอฟฟินสิ้นสุดลงเมื่อทั้งคู่มีอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ โดยในช่วง 2 ปีแรก ทั้งคู่ก็ได้รับส่วนแบ่งค่าตอบแทน แต่ก็มีบางครั้งก็ถูกเอาเปรียบด้วย เมื่อเป็นอิสระทั้งคู่ก็เปิดการแสดงเอง และได้แสดงไปทั่วสหรัฐอเมริกา

จนเมื่ออายุได้ 28 ปี ใน พ.ศ. 2382 ทั้งคู่ก็ได้ลงหลักปักฐานที่หมู่บ้านแทรปฮิลล์ (Traphill) เขตชานเมืองวิลส์โบโร (Wilkesboro) เคาน์ตีวิลส์ ในรัฐนอร์ทแคโรไลนา พร้อมกับได้เปลี่ยนชื่อและเปลี่ยนสัญชาติเป็นอเมริกัน โดยมีชื่อว่า เอ็ง-ชาง บังเกอร์ (Eng and Chang Bunker) พร้อมกับได้แต่งงานกับหญิงชาวอเมริกัน และมีลูกด้วยกันหลายคน ซึ่งระหว่างที่ทั้งคู่ใช้ชีวิตในต่างประเทศนั้น มีความพยายามหลายครั้งจากหลายบุคคลที่จะทำการผ่าตัดแยกร่างทั้งคู่ออกจากกัน แต่ท้ายที่สุดก็มิได้มีการดำเนินการจริง ๆ

จากบันทึกที่ได้บันทึกไว้ ระบุว่า จัน (คนน้อง) เป็นคนที่มีอารมณ์ร้อน หุนหันพลันแล่น และชอบดื่มสุราจนเมามาย ขณะที่ อิน (ผู้พี่) กลับมีนิสัยตรงกันข้าม คือ ใจเย็น สุขุมกว่า และไม่ทานเหล้า อีกทั้งทั้งคู่เคยทะเลาะวิวาทจนถึงขั้นชกต่อยกันเองมาแล้วด้วย

จากการที่จันผู้น้องนิยมดื่มเหล้าจนเมามายบ่อย ๆ ทำให้เป็นโรคหลายโรค จนในวันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2417 จันก็เสียชีวิตลงด้วยอาการหัวใจวาย จากนั้นอีกราว 2 ชั่วโมงถัดมา อินก็ได้เสียชีวิตตามไปด้วย ซึ่งจากการชันสูตรและลงความเห็นของแพทย์สมัยใหม่ ระบุว่า อินต้องสูญเสียเม็ดเลือดแดงให้แก่จันที่เสียชีวิตไปแล้ว ผ่านทางเนื้อที่เชื่อมกันที่อก ทั้งคู่เสียชีวิตขณะที่มีอายุได้ 63 ปี

วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Fondue



**....Fondue isch guet und git e gueti Luune....**

**ฟองดือ อิชชฺ ก๊วต อูนดฺ กิท เอะ ก๊วตติ ลูนเน่ะ***
คำข้างบนเป็นคำพูดของคนสวิส ซึ่งเป็นภาษาสวิสเยอรมัน ซึ่งกล่าวถึงFONDUEว่า...FONDUEกินอร่อยและทำให้อารมณ์ดี ซึ่งเป็นคำกล่าวที่ถูกต้องจริงๆ. เพราะเรากินฟองดูกันอย่างมีความสุข
คุยหัวเราะหยอกล้อกันอย่างสนุกสนาน ภายใต้แสงเทียนที่จุดตั้งบนโต๊ะ..และฟังเพลงลูกทุ่งสวิส...
**FONDUE ** ถ้าเอ่ยและถามถึงประเทศสวิตฯ ทุกๆคนจะนึกถึง..นาฬิกา..มีดพกสวิส... ความสวยงามของธรรมชาติและ เนยขูดที่นำมาละลาย และจิ้มด้วยขนมปังขาว..ที่ทุกคนขนานนามว่า Fondue
Fondue เนยขูดจัดว่าเป็นอาหารเก่าแก่ประจำชาติสวิส และจะกินกันมากเมื่ออากาศเริมหนาวเย็น
แสงเทียนและไฟที่จุดเผาฟองดูทำให้เราเกิดความอบอุ่น และเกิดความใกล้ชิดกันยิ่งขึ้น...ยิ่งหิมะตก ละอองหิมะที่โปรยปรายข้างนอก ทำให้การกินฟองดูอร่อยมากขึ้น และอารมณ์โรแมนติคสุดๆยิ่งมีเตาผิง ที่จุดอยู่ข้างๆยิ่งทำให้เกิดภาพที่สวยงามจริงๆ ** FONDUE ** Fondue มาจากภาษาฝรั่งเศสFondre ซึ่งหมายถึงschmelzen.ในภาษาเยอรมัน ซึ่งแปลว่าทำละลาย..ใน caquelon ซึ่งเป็นหม้อดินเคลือบที่ทำพิเศษ
สำหรับใส่เนยขูดตั้งอยู่บนความร้อนเพื่อให้เนยละลาย ** FONDUE ** เป็นอาหารที่คนสวิสนิยมกินกันมาก
ไม่ว่าจะจัดเลี้ยงเชิญเพื่อนฝูงญาติพี่น้อง หรือคนรู้จักใกล้ชิดเพราะทำง่าย มีส่วนประกอบไม่ยุ่งยากในการปรุง และข้อสำคัญอร่อยมาก คนสวิสจะกิน Fondueเป็นจำนวน3000กว่าตัน/ปี
ซึ่งเป็นสถิติที่มากพอควรและสูงกว่าปีที่แล้วมาก สมัยก่อนตอนที่ป้ามาอยู่ที่นี่ใหม่ๆเมื่อ30ปีที่ผ่านมา
Fondue มีขายในท้องตลาดจะมีจำนวนไม่มาก จะรู้จักกันดีก็ยี่ห้อGerberและจะกินกันไม่มาก เหมือนปัจจุบันนี้ ใครก็ตามถ้ามีโอกาสและเวลาว่างหรือไปเดินเล่น ถ้ามีเวลาลองไปเดินดูFondueที่ขายในท้องตลาด รับรองว่าจะตาลายมากเพราะปัจจุบัน มีFondueเป็นจำนวนมากมายหลายยี่ห้อที่วางขาย ตามท้องตลาด.ไม่ว่าจะเป็นFondueแบบสำเร็จรูป และแบบใส่เนยแข็งขูดเรียบร้อยแล้ว คนซื้อแค่มาผสมนำปรุงเครื่องเองภายหลัง บางคนอาจจะลองลิ้มรส ตัวอย่างเช่นChampagnerFondueมาแล้ว และมีทั้งFondueที่ผลิตขายสำหรับคน ที่ลดหุ่นหรือระวังความอ้วน..ซึ่งลดจำนวน Fett ลงเป็นจำนวนครึ่งต่อครึ่งจริงๆ ป้าเคยลองกินดูแล้วไม่อร่อยเลย กินแบบธรรมดาอร่อยมากกว่า และFondueสำหรับกินคนเดียว และใช้กับไมโครเวฟ เรียกว่าเขาผลิตให้ผู้บริโภคประทับใจมากจริงๆ **FONDUE ** ประวัติความเป็นมาของFondue
การกินฟองดูเป็นประเพณีเก่าแก่ที่กินกันมานานแล้ว คาดว่าการกินที่เราเรียกว่าFondue เริ่มมานานแล้วประมาณปีคศ.1500 การกินฟองดูสมัยนั้นเป็นการกินแบบง่ายๆ การกินจะกินร่วมกันในหม้อเดียวกัน เล่ากันว่าถึงแม้คนกินจะไม่เป็นมิตรกัน หรือคู่อริก็มากินฟองดูร่วมหม้อกันและเป็นมิตร กันในที่สุด..การกินแบบนี้เลยกลายเป็น สัญลักษณ์ของความสุข..มิตร...และสังสรรค์สมาคมกัน การกินฟองดูสมัยก่อนจะใส่นมสด
ลงในหม้อใส่เนยขูดใส่แป้งสาลี และกวนให้เข้ากันพอสุกแล้วยกเสิร์ฟ และและเอาขนมปัง ใส่ลงในหม้อและใช้ช้อนตักกิน อาหารแบบนี้เรียกว่าAlpsuppeซุปชาวเขาซึ่งเป็นอาหารที่ง่ายๆ นมและเนยและแป้งสาลีเป็นอาหารหลัก ที่จำเป็นและมีอยู่แล้ว การทำFondueเขาจะทำแตกต่างจากปัจจุบันนี้ และคนที่เริ่มทำฟองดูซึ่ง
เป็นการทำแบบไม่ตั้งใจ คนที่คิดค้นทำเป็นพวกแรกคือคนที่อาศัยบนเทือกเขา เขาจะใช้เนยแข็งขูดใส่หม้อ
เอานมสดใส่ลงไปในหม้อ และใส่แป้งสาลีเอาของทุกอย่างกวนให้เข้ากัน พอของทุกอย่างละลายเข้ากันแล้วก็เอาขนมปังใส่ซ่อมตักกินกัน ต่อมาปีคศ.1901ได้มีคนค้นคิดและทำสูตรฟองดู
แต่ไม่มีคนสนใจทำตามต่อมาปี1906 มีคนดัดแปลงเขียนจดสูตรการทำฟองดูบันทึกเป็นครั้งแรก
ป้าจำชื่อคนเขียนไม่ได้แล้วน่าเสียดายมากที่เอกสารสำคัญ ที่เก็บรักษาไว้นานแล้วหายหมดตอนย้ายบ้าน
จำสูตรการทำฟองดูคร่าวๆเขาจะใช้เนยแข็งขูดใส่หม้อ เอานมสดและน้ำลงไปในหม้อ เอาไข่แดงต่อยใส่ลงไป และใส่แป้งสาลีเอาของทุกอย่างกวนให้เข้ากัน ใส่น้ำตาลลงไปนิดหน่อย และใส่น้ำมะนาวลงไป
ใครที่เป็นนักอ่านหรือสนใจเกี่ยวกับฟองดู อ่านจะเคยอ่านเจอกันมาเกี่ยวกับประวัติต่างๆ ที่เล่าแตกต่างกันไป.. บางคนบอกว่าฟองดูไม่ใช่ของคนสวิสนะ เป็นของชาวฝรั่งเศสเห็นไหมภาษายังเป็นฝรั่งเศสเลย ถ้าพิจารณากันดีๆ..จะเห็นว่าต้นตำรับ น่าจะเป็นคนที่อยู่แถบตะวันตกของสวิตฯ เขตนี้พูดภาษาฝรั่งเศส และน่าจะเป็นชาวเจนีวาGenfer แต่ก็บางคนก็บอกว่าน่าจะเป็นคนที่อยู่Neuenburg, หรือwaadt,หรือWaliss
การกินฟองดูFondueเมื่อสมัยปี1900 ยังไม่นิยมแพร่หลายเหมือนปัจจุบันนี้ ลุงเล่าให้ป้าฟังว่าตอนแกเป็นเด็กไม่รู้จักฟองดูเลย จนเริ่มโตเป็นหนุ่มถึงได้รู้จักและเริ่มกิน แต่กินไม่บ่อยเพราะราคาแพงมาก แกได้รับเงินเดือนแค่ไม่กี่ร้อยเอง เมื่อประมาณปี1950หรือประมาณ1954 กรมทหารของสวิสได้ทำให้ฟองดูเป็นที่รู้จักกันดี และนิยมกินกันมากจนถึงปัจจุบันนี้ และเราเรียกสูตรทหารสูตรนี้ว่า Käse-Fondue der Schweizer Armee ซึ่งมีสูตรการทำเรียบง่าย Fondueในสวิตฯมีชื่อเรียกและใช้เนย หลายอย่างแตกต่างกัน

เช่น Freiburger Fondue mit Vacherin
Freiburger Fondue Moitié — Moitié
Genfer Fondue
Glarner — Fondue
Gomser Fondue (Walliser Fondue)
Neuenburger Fondue
Waadtländer Fondue
Tomaten — Käsefondue
Appenzeller Käsefondue
Innerschweizer Fondue

ทำไมจึงถือว่าคิวปิดเป็นเทพเจ้าแห่งความรัก


ตามเทพนิยายของกรีกและโรมันกล่าวถึงคิวปิดว่าเป็นบุตรชายของมาร์ (Mars) เทพเจ้าแห่งสงคราม และวีนัส (Venus)เทพเจ้าแห่งความรักและความงาม

วีนัสเกิดความริษยาความงามของนางไซกี (Psyche) ธิดาของกษัตริย์องค์หนึ่งซึ่งกำลังอยู่ในวัยแรกรุ่นและมีรูปโฉมงดงามจึงส่งคิวปิดบุตรชายไปหานางไซกีเพื่อบันดาลให้นางเกิดความรักในบุรุษ แต่คิวปิดกลับไปหลงเสน่ห์นางไซกีเสียเอง จึงลอบพานางไปไว้ยังวังของตน คิวปิดไปหานางเฉพาะเวลากลางคืน และขอร้องอย่าให้นางสอดรู้สอดเห็นว่าตนคือใคร แต่บรรดาพี่สาวของนางไซกีเกิดความริษยา จึงยุให้นางแอบจุดตะเกียงส่องดูขณะที่คิวปิดนอนหลับ เพื่อจะได้ทราบว่าชู้รักของนางคือใคร นางไซกีก็ทำตาม และด้วยความตื่นเต้นยินดีที่เห็นว่าชู้รักเป็นชายหนุ่มรูปงาม นางทำน้ำมันตะเกียงหกลงที่ไหล่ของคิวปิด คิวปิคจึงตื่นขึ้นและต่อว่า แล้วทอดทิ้งนางไป นางไชกีจึงออกติดตามค้นหาคิวปิดเทพเจ้ารูปงามองค์นั้นตามโบสถ์หลายแห่ง

ณ โบสถ์ของวีนัส นางไซกีถูกกลั่นแกล้งให้กระทำสิ่งที่ลำบากยากเย็นหลายอย่าง และสุดท้ายถูกแกล้งใช้ให้ไปนำบบรรจุเครื่องปรุงแต่งความงามจากโลกเบื้องล่างมาให้ นางไซกีก็ได้บมาด้วยความลำบาก ด้วยความอยากรู้อยากเห็นนางได้เปิดบออกดู กลิ่นอันรุนแรงที่พลุ่งจากบทำให้นางสิ้นสติไป คิวปิดได้ตามไปช่วยแก้ไขไว้ได้ทันท่วงที เทพเจ้ายูปีเตอร์จึงได้ช่วยบันดาลให้นางไซกีเป็นอมตะและได้อภิเษกกับคิวปิด

ชาวโรมันมักทำรูปปั้นคิวปิดเป็นรูปเด็กชายเล็ก ๆ เปลือยและมีปีก ใบหน้ายิ้มและมีลักยิ้ม ท่าทางเป็นเด็กซน มือถือคันธนูและมีกระบอกใส่ลูกธนูอยู่ใกล้ตัว เชื่อกันว่าธนูของคิวปิดที่ยิงไปต้องดวงใจของมนุษย์ทำให้เกิดความรัก ชาวกรีกเรียกคิวปิดว่า อีรอส (Eros) และนับถือว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความรักและมิตรภาพ